Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อาการซึมเศร้าในเด็กวัยต่างๆ


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

31-08-2022 10:34

เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีสมาชิกคนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเด็กทั่วไป นอกจากนี้สภาพแวดล้อม หรือ เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กที่อยู่ตามสถานเลี้ยงเด็กที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีคนเล่นด้วย ไม่มีใครเอาใจใสดูแล ครอบครัวที่มีปัญหา เด็กที่มีปัญหาที่โรงเรียน หรือ เด็กที่สูญเสียพลัดพลาดจากบุคคลอันเป็นที่รัก ก็เป็นสาเหตุให้เด็กเกิดอาการซึมเศร้าได้

ภาพประกอบเคส

อาการซึมเศร้าในเด็กวัยต่างๆ เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีสมาชิกคนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเด็กทั่วไป นอกจากนี้สภาพแวดล้อม หรือ เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กที่อยู่ตามสถานเลี้ยงเด็กที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีคนเล่นด้วย ไม่มีใครเอาใจใสดูแล ครอบครัวที่มีปัญหา เด็กที่มีปัญหาที่โรงเรียน หรือ เด็กที่สูญเสียพลัดพลาดจากบุคคลอันเป็นที่รัก ก็เป็นสาเหตุให้เด็กเกิดอาการซึมเศร้าได้

อาการของโรคซึมเศร้าในเด็กอาจไม่เหมือนของวัยผู้ใหญ่ชะทีเดียว และในแต่ละอายุก็มีอาการเฉพาะต่างกัน ดังนี้

เด็กเล็ก

  • เด็กจะมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย ร้องกวนบ่อย และปลอบให้เงียบยาก เลี้ยงยาก
  • เด็กจะเริ่มมีอาการเฉยชาต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ตอบสนองโดยการยิ้มหรือแสดงอารมณ์
  • เด็กจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว มักอยู่นิ่งๆ เป็นส่วนมาก หรือเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น นั่งโยกตัว ใช้หัวโขกกับข้างฝาหรือข้างเตียง ดูดนิ้ว บางรายจะมีอาการเล่นอวัยวะเพศ
  • เด็กจะเลี้ยงไม่โต น้ำหนักตัวไม่ขึ้น เนื่องจากกินน้อย ปฏิเสธอาหาร และมักป่วยบ่อย
  • เด็กอาจมีปัญหาการนอน โดยนอนหลับยาก และ สะดุ้งตื่นง่าย
  • เด็กจะมีพัฒนาการช้าลงกว่าเดิมหรือ ถดถอยลงในด้านต่างๆ

เด็กวัยเรียน

  • มักออกมาเป็นลักษณะหงุดหงิด วิตกกังวล
  • มีอาการทางร่างกายต่างๆ โดยไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น อาการปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  • อาการถดถอยทางด้านพฤติกรรม เช่น ปัสสาวะรดที่นอน
  • ปัญหาทางพฤติกรรม เช่น ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว ไม่มีสมาธิ ไม่สนใจเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน แยกตัวกับเพื่อน ไม่ค่อยเล่นมาเป็นอาการบดบังได้ จนเราไม่ทราบว่าลูกซึมเศร้าอยู่

ในเด็กวัยเรียนที่อาการรุนแรงจะซึม และ หงอยเหงา บางครั้งเด็กมักไม่บอกว่าเศร้า แต่อาจบ่นว่าเบื่อไม่มีอะไรน่าสนใจ หรือบ่นว่าตนเองไม่ดี หรือไม่เก่งเท่าเพื่อน สีหน้าเศร้าหมอง ร้องไห้ง่าย อย่างชัดเจน ในเด็กบางคนอาจพูดถึงเรื่องความตาย หรือมีความคิดฆ่าตัวตายได้

เด็กวัยรุ่น

มีอาการของโรคซึมเศร้าคล้ายกับในผู้ใหญ่ สามารถบอกได้ถึงความรู้สึกเศร้า เฉยชา เหมือนหมดเรี่ยวแรงจะทำอะไร หรือรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า มีความท้อแท้ในชีวิต แต่สิ่งที่ยากในวัยรุ่นคือบางครั้งอารมณ์เศร้าของเขาอาจแสดงออกด้วยปัญหาพฤติกรรม และ การใช้ยาเสพติดได้ เพื่อช่วยให้ตนเองลืมความทุกข์ และเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงมาก

ที่มา : โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมถ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3TmrnnH


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท