Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

4 พฤติกรรม ทำลูกเครียด


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ

31-08-2022 10:27

ผู้ใหญ่สามารถรับรู้และเข้าใจได้ว่าตนเองกำลังเกิดความเครียด และหาหนทางแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับเด็กเมื่อเกิดความเครียดขึ้น เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความเครียดได้ ดังนั้นเราจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กเกิดความเครียด และจะมีวิธีช่วยเหลือลูกรักได้อย่างไรให้พ้นจากความเครียด

ภาพประกอบเคส

ผู้ใหญ่สามารถรับรู้และเข้าใจได้ว่าตนเองกำลังเกิดความเครียด และหาหนทางแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับเด็กเมื่อเกิดความเครียดขึ้น เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความเครียดได้ ดังนั้นเราจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กเกิดความเครียด และจะมีวิธีช่วยเหลือลูกรักได้อย่างไรให้พ้นจากความเครียด

เราจะมาทำความรู้จักกับความเครียดของเด็กกันว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียด

พ่อแม่ทราบได้อย่างไรว่าลูกเครียด
ความเครียด คือ ความกังวล ไม่สบายใจเมื่อเด็กต้องเผชิญต่อปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาด้านความต้องการ ปัญหาด้านการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม เพื่อให้ทนอยู่ในสังคมหรือในสภาวะแวดล้อมนั้นๆ ได้ เมื่อเด็กต้องเผชิญต่อปัญหาจะเกิดการปรับตัวเพื่อลดความกังวลและความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น เมื่อปรับตัวไม่ได้ก็จะเกิดความเครียดขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ลูกเครียด

  1. เข้มงวดเกินไป ลูกอาจมีความเครียดจากวินัยที่เคร่งครัดหรือการบังคับกับวิชาการ ซึ่งความจริงแล้วลูกของเราอาจขาดจินตนาการและการปรับตัว
  2. คาดหวังเกินไป ลูกอาจเครียดกับคำว่า “ต้องทำให้ได้” ความคาดหวังของแม่อาจทำให้ลูกเป็นเด็กเก็บกดและขาดความมั่นใจได้
  3. เป็นห่วงเกินไป ความเป็นห่วงที่มากเกินไปอาจทำให้ลูกเกิดความเครียดต่อแม่ เช่น ความสะอาด ห้ามเล่น ห้ามทำกิจกรรมนอกบ้าน จนลดโอกาสที่ภูมิต้านทานของลูกน้อยจะได้รับการกระตุ้น
  4. ตามใจเกินไป เช่น ผัก ผลไม้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และสร้างอารมณ์ที่ดี หากคุณแม่ตามใจไม่ฝึกให้ลูกทานผัก ผลไม้ จะส่งผลให้ลูกอุจจาระไม่ออกและเกิดเป็นความเครียดได้

การเลี้ยงลูกแบบไม่สมดุลอาจส่งผลกระทบต่อลูกโดยไม่ตั้งใจได้ เพราะเป้าหมายของการเลี้ยงดูลูก คือ เห็นลูกรักเติบโตเป็นคนที่เก่งรอบด้าน สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)
https://bit.ly/3wtMivt


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท