อาการร้อนวูบวาบในวัยทอง จัดการอย่างไร
หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
31-08-2022 09:18
อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน นับเป็นอาการจำเพาะที่สุดของอาการที่สัมพันธ์กับวัยหมดระดู พบมากในระยะ 1-2 ปีแรกหลังหมดระดู ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เอง อาการร้อนมักเริ่มที่หน้า คอ ศีรษะหรือหน้าอก และมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น บางรายจะมีอาการใจสั่นร่วมด้วย
อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน นับเป็นอาการจำเพาะที่สุดของอาการที่สัมพันธ์กับวัยหมดระดู พบมากในระยะ 1-2 ปีแรกหลังหมดระดู ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เอง อาการร้อนมักเริ่มที่หน้า คอ ศีรษะหรือหน้าอก และมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น บางรายจะมีอาการใจสั่นร่วมด้วย
การรักษาแบบใช้ยา
- ฮอร์โมนทดแทนเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดแต่อาจเพิ่มความเสี่ยงในสตรีบางราย ดังนั้นควรอยู่กายใต้การดูแลของแพทย์
- การใช้ยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเฉพาะในรายที่มีข้อห้ามของฮอร์โมน หรือไม่ต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน การทำใจให้ผ่อนคลาย
- การรักษาแบบไม่ใช้ยา
- อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบอากาศไม่ร้อน
- งดเครื่องดื่มหรืออาหารที่อาจกระตุ้นอาการ เช่น อาหารรสจัด
- ทำความเข้าใจว่าเป็นกระบวนการที่สมองไม่ชันกับการลดลงของฮอร์โมนบางรายอาการหายเองได้
- หากมีอาการรบกวนการนอน หรือรบกวนชีวิตประจำวัน แนะนำพบแพทย์ผู้เขียวชาญ
ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทองจะเริ่มมีอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งอาการมากน้อยต่างกันในแต่ละบุคคลหากเป็นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันควรปรึกษาแพทย์
ที่มา : ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3AwcIhl