Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โซเชียลดีท็อกซ์ จากสื่อสังคมออนไลน์


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

26-08-2022 11:39

การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อาจทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับผลกระทบ เช่น การรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป การถูกกระตุ้นทางอารมณ์อย่างรุนแรง รวมทั้งการถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกวิพากษ์วิจารณ์

ภาพประกอบเคส

การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อาจทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับผลกระทบ เช่น การรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป การถูกกระตุ้นทางอารมณ์อย่างรุนแรง รวมทั้งการถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกวิพากษ์วิจารณ์

โซเชียลดีท็อกซ์ (Social Detox) จึงเป็นการบำบัดจากการได้รับผลของสื่อสังคมออนไลน์ โดยลดการใช้งานให้น้อยลง เพื่อลดการรับข้อมูลข่าวสาร ล้างสารพิษจากสื่อสังคมออนไลน์ และฟื้นฟูสภาพจิตใจ

วิธีทำโซเชียลดีท็อกซ์ด้วยตนเอง

  1. ปิดแจ้งเตือนในช่วงพัก สมองจะเกิดการตอบสนองต่อเสียงและการสั่นแจ้งเตือน ทำให้ร่างกายต้องตรวจเซ็กการแจ้งเตือนของโทรศัพท์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจกระตุ้นความกังวลและเพิ่มความกลัวการอยู่คนเดียว
  2. กำหนดเวลาใช้งานโทรศัพท์ กำหนดเวลาการใช้โทรศัพท์และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น พักการใช้งานทุก 30 นาที หรือกำหนดการใช้งานครั้งละ 5-10 นาที
  3. ทำโซเชียลดีท็อกซ์ทุกวันหยุด วันหยุดเป็นช่วงเวลาพักผ่อนซึ่งเหมาะกับการใช้ชีวิตโดยปราศจากอินเทอร์เน็ตสื่อสังคมออนไลน์ หรือใช้ให้น้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายและสมองได้ผ่อนคลาย
  4. ซึมชับบรรยากาศแบบออฟไลน์ การปิดโทรศัพท์ การใช้ชีวิตแบบออฟไลน์ การไม่ลงภาพหรือสถานะในสื่อสังคมออนไลน์และการทำกิจกรรมนอกหน้าจอ เช่น อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว สนทนากับเพื่อน ใช้เวลาร่วมกับญาติหรือครอบครัว เพื่อรับประสบการณ์นอกสื่อสังคมออนไลน์อย่างเต็มที่
  5. จัดการเนื้อหาของข้อมูลที่ได้รับ เลือกรับข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ลดการติดตามผู้มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ (Infuencer) ที่ไม่ได้ประโยชน์ และเลือกติดตามเฉพาะคนที่ทำให้เรารู้สึกดีและมีความสุข
  6. งดเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน แสงไฟจากหน้าจออุปกรณ์ หรือโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนจะกระตุ้นให้สมองทำงานมากขึ้นและลดการทำงานของสารเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับ ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น

คำแนะนำจากแพทย์
หากทำโซเชียลดีท็อกซ์แล้วยังมีความรู้สึกว่าตนเองได้รับผลกระทบจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ เช่น รู้สึกเครียด เศร้า หรือหดหู่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรรีบปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3CiJgOp


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท