Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไร เมื่อลูกทะเลาะกัน


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

13-03-2022 21:15

บ้านที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน ต่างก็เจอกับปัญหาลูกๆ ทะเลาะกัน เช่น งอนกัน โกรธเคือง มีปากมีเสียงกัน หรือมากกว่านั้นคือลงมือตีกันและใช้คำหยาบคายต่อกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจไม่น้อยเลยที่เดียว

ภาพประกอบเคส

บ้านที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน ต่างก็เจอกับปัญหาลูกๆ ทะเลาะกัน เช่น งอนกัน โกรธเคือง มีปากมีเสียงกัน หรือมากกว่านั้นคือลงมือตีกันและใช้คำหยาบคายต่อกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจไม่น้อยเลยที่เดียว

คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีในการจัดการตัวเองเมื่อเจอกับปัญหาความขัดแย้งของลูกๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงดูลูกฝึกให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและฝึกฝนการจัดการตนเอง

  1. ตั้งกฎ “ไม่ทะเลาะกัน” การตั้งกฎพื้นฐานสำหรับการประพฤติตัวของลูก สอนให้ลูกได้เรียนรู้การปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่อยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อเรา
  2. ให้ความสนใจพวกเขา แต่ไม่ใช่ในขณะที่พวกเขากำลังทะเลาะกัน เด็กที่รู้สึกถึงความรัก การดูแล และความเอาใจใส่ที่เพียงพอจากพ่อแม่นั้นมักจะทะเลาะกันน้อยกว่า พ่อแม่ควรให้ความสนใจลูกอยู่เสมอ ให้เวลาและความใส่ใจกับลูกแต่ละคน บอกรักเขาเสมอ กอดเขาให้มากเท่าที่มีโอกาส
  3. สอนให้ลูกสื่อสารได้อย่างเหมาะสม การสื่อสารกันได้อย่างเหมาะสมเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี แม้กระทั่งในหมู่เด็กด้วยกัน เขาจะแสดงความเป็นตัวเขาเอง เด็กสามารถโน้มน้าวและชักจูงพี่หรือน้องให้ออกจากสถานการณ์ความขัดแย้งได้ การที่เขาไม่สามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้จะทำให้เขาเกิดความหงุดหงิดและทะเลาะกับคนอื่นได้
  4. สอนให้เด็กรู้จักเห็นใจคนอื่น เมื่อลูกพูดว่า “หนูเกลียดพี่” พ่อแม่ควรอธิบายให้เขาฟังว่าการเกลียดนั้นแตกต่างจาก “ความโกรธ” แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจในความรู้สึกของลูกน้อย ลูกจะรู้สึกขอบคุณที่คุณเข้าใจว่าเขารู้สึกอย่างไร และนี่จะกลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความเห็นอกเห็นใจของลูกที่มีต่อคนอื่น
  5. อย่าเข้าไปยุ่ง อย่าเข้าไปยุ่งการทะเลาะกันของพี่น้องเพื่อที่จะหยุดการทะเลาะเบาะแว้ง ให้พวกเขาจัดการต่อสู้กันเอง เพราะหากคุณยื่นมือเข้าไปยุ่งตลอดเวลา พวกเขาจะต่อสู้กันได้ตลอดเวลาเพราะพวกเขาจะคิดว่าคุณจะอยู่ที่นั่นด้วยเพื่อยุติการทะเลาะกัน ให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
  6. ทำตัวเป็นตัวอย่าง หากพ่อแม่สร้างกฎการ “ไม่ทะเลาะกัน” แต่เด็กเห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน ไม่เพียงแต่ไม่ได้ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง แต่เป็นเราเองที่แหกกฎ
  7. สร้างความสุขและสนุกสนานในครอบครัว หากเราสร้างความสุขและความสนุกสนานให้ครอบครัวอยู่เสมอ สิ่งอื่น ๆ จะตามมา ลูก ๆ จะไม่ทะเลาะกัน และทุกคนก็จะรักกันมากขึ้น

ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
https://bit.ly/3J4EZ0V


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท