Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

กินเนื้อวัวดิบ เสี่ยงโรคพยาธิตัวตืด


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

26-08-2022 11:24

โรคพยาธิตัวตืดวัว-ควาย เกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิ ที่เรียกว่าเม็ดสาคู ปนอยู่ในกินเนื้อวัว-เนื้อควายดิบๆ ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ยาว 5-10 เมตร อาจยาวถึง 25 เมตร และมีลำตัวเป็นปล้องประมาณ 1,000-2,000 ปล้อง และปล้องสุกจะหลุดออกมา 3-4 ปล้องกับอุจจาระ หรือคลานออกจากทวารหนักในแต่ละวัน โดยมีอายุอยู่ในลำไส้คน ประมาณ 10-25 ปี พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้และจะเกิดอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง และทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้

ภาพประกอบเคส

โรคพยาธิตัวตืดวัว-ควาย เกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิ ที่เรียกว่าเม็ดสาคู ปนอยู่ในกินเนื้อวัว-เนื้อควายดิบๆ ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ยาว 5-10 เมตร อาจยาวถึง 25 เมตร และมีลำตัวเป็นปล้องประมาณ 1,000-2,000 ปล้อง และปล้องสุกจะหลุดออกมา 3-4 ปล้องกับอุจจาระ หรือคลานออกจากทวารหนักในแต่ละวัน โดยมีอายุอยู่ในลำไส้คน ประมาณ 10-25 ปี พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้และจะเกิดอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง และทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้

เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ จากการกินเนื้อวัวดิบ

  1. โรคแอนแทรกซ์ เกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายท้องอย่างรุนแรง อาจพัฒนาไปถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจเสียชีวิตได้
  2. เชื้อซาลโมเนลลา มักมีการปนเปื้อนมากับอาหาร เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมักมีอาการอาเจียน ท้องร่วง
  3. เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ พบได้ในทางเดินอาหารของวัว และสัตว์อื่นๆ ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มีไข้ บางครั้งอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย
  4. เชื้ออีโคไล เป็นเชื้อที่สร้างสารพิษทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้ไปประมาณ 1-2 วัน จะมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริว และมีอาการท้องร่วง บางครั้งอาจมีเลือดปน
  5. เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า หากนำเนื้อวัว-ควายที่ตายแบบไม่ทราบสาเหตุมากิน แล้วไปเจอวัวควายที่ตายจากโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งคนแล่เนื้อ คนปรุงอาหาร และผู้ที่กินเนื้อดิบๆ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

ข้อแนะนำ

  • ควรเลือกซื้อเนื้อวัว-ควายที่ผ่านการตรวจจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานแล้วเท่านั้น
  • รับประทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปรุงสุกอย่างทั่วถึง โดยยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” สุกด้วยความร้อน หรือผ่านการทำลายตัวอ่อนพยาธิ เช่น ฉายรังสี หรือเก็บเนื้อไว้ในตู้เย็น -20 ˚c เป็นเวลา 5-7 วันขึ้นไป
  • ผู้ปรุงประกอบอาหาร ต้องดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงหรือรับประทานอาหาร และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/177555/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท