Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ออกกำลังกายอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

20-08-2022 13:17

การออกกำลังกายอย่างพอดีและเหมาะสม จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ อาทิ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตลดลง ลดการเกิดความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน ทั้งลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคเบาหวานและลดภาวะเครียด นอกจากจะส่งผลดีต่อหัวใจแล้ว การออกกำลังกายยังมีประโยชน์ ต่อสุขภาพโดยรวม เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดไขมันในเลือด ทั้งยังสามารถช่วยให้นอนหลับสนิท ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายดีขึ้นอีกด้วย

ภาพประกอบเคส

การออกกำลังกายอย่างพอดีและเหมาะสม จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ อาทิ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตลดลง ลดการเกิดความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน ทั้งลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคเบาหวานและลดภาวะเครียด นอกจากจะส่งผลดีต่อหัวใจแล้ว การออกกำลังกายยังมีประโยชน์ ต่อสุขภาพโดยรวม เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดไขมันในเลือด ทั้งยังสามารถช่วยให้นอนหลับสนิท ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายดีขึ้นอีกด้วย

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการออกกำลังกายได้ โดยการเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจที่แข็งแรงขึ้น แต่ถ้าไม่เหมาะสมหรือมากเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อหัวใจได้ โดยสามารถวางแผนก่อนการออกกำลังกายได้ ดังนี้

  1. เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับตนเอง เริ่มจากกิจกรรมเบาๆ เช่น ยืน เดิน แล้วค่อยๆเพิ่มเป็น แกว่งแขน เดินเร็ว วิ่ง หรือปั่นจักรยาน ควรอบอุ่นร่างกาย และมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง
  2. ในระหว่างออกกำลังกายพยายามหายใจให้ปกติ ควรสังเกตการหายใจไม่ให้ติดขัด และสามารถพูดคุยได้โดยไม่เหนื่อยหอบ ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป แต่ควรเน้นที่ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  3. ระยะเวลาอาจค่อยๆเริ่มจาก 5-10 นาที แล้วเพิ่มระยะเวลาขึ้นเรื่อยๆ และควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาที
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3-5 วัน/สัปดาห์
  5. ไม่ควรออกกำลังกายหรือหยุดออกกำลังกายทันทีเมื่อมีอาการดังนี้ คือ เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็นซีด เหนื่อยผิดปกติ

ผู้ป่วยจึงควรออกกำลังกายด้วยความระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคส่งผลให้การดำรงชีวิตและการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3pjYFpW


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท