สายตากับโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
20-08-2022 10:24
“โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอที เช่น แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือแม้แต่การอ่านหนังสือเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่พักสายตาจนทำให้กล้ามเนื้อตาล้า
“โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอที เช่น แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือแม้แต่การอ่านหนังสือเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่พักสายตาจนทำให้กล้ามเนื้อตาล้า หรือการนั่งอยู่ในท่วงท่าอิริยาบถหนึ่งนานๆ โดยไม่ขยับเขยื้อน และอีกหลากหลายสาเหตุที่ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมขึ้นได้ เช่น ทิศทางการเป่าของแอร์ ความสว่างของหน้าจอ ระยะการมอง ท่าทางการนั่ง ตำแหน่งการวางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม มักพบในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน เนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเกือบตลอดเวลา จนเกิดอาการตาแห้ง แสบตา เคืองตา ปวดตา ตาพร่า เกิดภาพเบลอหรือภาพซ้อน ปวดศีรษะ
การดูแลรักษาโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
- ปรับสภาพแวดล้อมและแก้ไขพฤติกรรมการใช้สายตา
- ควรเว้นระยะการใช้และพักสายตา เช่น ใช้สายตาไป 20 นาที พักสายตา 20 วินาที
การรักษาด้วยการใช้น้ำตาเทียม
รักษาด้วยการใช้น้ำตาเทียมมี 2 ชนิด คือ น้ำตาเทียมแบบรายเดือน (1 ขวดใหญ่ เมื่อเปิดแล้วใช้ได้ 1 เดือน) และ น้ำตาเทียมแบบรายวัน (ใช้ได้ 24 ชั่วโมง แล้วทิ้ง) สามารถใช้ได้ตามอาการ
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue016/health-station