Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ควันไฟจากไฟไหม้ อันตรายต่อชีวิต


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

10-08-2022 13:29

ควันจากไฟไหม้ ประกอบด้วย คาร์บอนมอนออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และอนุภาค (PM หรือเขม่า) ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีต่างๆ ควันไฟมีสารเคมีหลายชนิด เช่น อัลดีไฮด์ ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ โพลีซัยคลิก อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) เบนซีน โทลูอีน สไตรีน โลหะ และไดออกซิน ซึ่งเกิดจาก โฟม สี หรือวัสดุต่างๆ ที่ถูกเผาไหม้

ภาพประกอบเคส

ควันจากไฟไหม้ ประกอบด้วย คาร์บอนมอนออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และอนุภาค (PM หรือเขม่า) ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีต่างๆ ควันไฟมีสารเคมีหลายชนิด เช่น อัลดีไฮด์ ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ โพลีซัยคลิก อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) เบนซีน โทลูอีน สไตรีน โลหะ และไดออกซิน ซึ่งเกิดจาก โฟม สี หรือวัสดุต่างๆ ที่ถูกเผาไหม้

อันตรายจากควันไฟไฟไหม้

ในควันไฟมีสารสองชนิดที่มีผลต่อสุขภาพมาก คือ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ และอนุภาคขนาดเล็กๆ เช่น PM2.5 หรือ อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็นส่วนใหญ่ ผู้ที่ติดอยู่ในสถานที่ซึ่งเกิดไฟไหม้จะมีความตื่นตระหนก และพยายามวิ่งหนี ทำให้หายใจเร็วขึ้น ยิ่งหายใจเอาก๊าซพิษเข้าไปมากขึ้น

ดังนั้น ผู้ประสบเหตุไฟไหม้ต้องพยายามไม่หายใจแรง เพราะจะเอาควันไฟเข้าไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในคนที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เช่น คนที่มีโรคประจำตัว เป็นโรคหัวใจหรือทางเดินหายใจจะทำให้หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น

อาการเมื่อได้รับควันไฟไหม้เป็นจำนวนมาก

การหายใจเอาควันไฟเข้าไปในระยะแรกจะเกิดผลเฉียบพลัน โดยควันจะระคายเคืองตา จมูก คอ และกลิ่นจะทำให้คลื่นไส้ ปอดทำงานลดลงทำให้ออกซิเจนในร่างกายน้อยลง เมื่อหายใจเอาคาร์บอนมอนออกไซด์เข้าไป ร่างกายจะไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  • อาการขาดออกซิเจน ได้แก่ ปวดศีรษะ ลดความตื่นตัว
  • อาการของหลอดเลือดหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก และทำให้คนที่เป็นโรคมีอาการรุนแรงขึ้น

คนที่ติดอยู่ภายในและหายใจควันไฟมากๆ ก็จะทำให้ขาดออกซิเจน และอาจหมดสติ ถ้าช่วยออกมาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

ข้อปฏิบัติของคนที่หนีออกมาจากพื้นที่ไฟไหม้ได้

  1. เฝ้าระวังตนเองว่ามีอาการการหายใจผิดปกติหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจควรมาตรวจร่างกาย
  2. ผู้ได้รับผลกระทบจากควันไฟ ได้แก่ พนักงานดับเพลิง และหน่วยกู้ภัย การเข้าไปดับเพลิงแม้ในระยะสั้นบ่อยๆ จะทำให้เกิดผลต่อสุขภาพระยะยาวได้ เช่น มะเร็ง โรคปอด และโรคของหัวใจและหลอดเลือด จึงควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/177112/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท