Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคฝีดาษวานร ตื่นตัวแต่อย่าตื่นตระหนก


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

06-08-2022 16:36

โรคฝีดาษวานรหรือโรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (POX Virus) กลุ่มเดียวกับโรคไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ค. 65) ผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 20,849 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายเกือบทั้งหมด และมีผู้เสียชีวิต 5 รายในแอฟริกา

ภาพประกอบเคส

โรคฝีดาษวานรหรือโรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (POX Virus) กลุ่มเดียวกับโรคไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ค. 65) ผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 20,849 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายเกือบทั้งหมด และมีผู้เสียชีวิต 5 รายในแอฟริกา

การติดต่อและการแพร่กระจายของโรค

  • ส่วนมากติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งจากตุ่มหนอง สะเก็ดแผล (Contact) ของผู้ป่วย
  • อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะประชิด เช่น กินข้าวหรือ อยู่ห้องเดียวกัน หรืออาศัยนอนด้วยกัน
  • การแพร่กระจายอาจติดต่อทางฝอยละออง (Droplet) ได้

ระยะฟักตัวของโรค ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน โดยทั่วไประยะฟักอยู่ระหว่าง 7- 21 วัน แต่บางรายก็มีระยะฟักตัวนานกว่านั้น

ป้องกันตัวเอง

ไวรัสฝีดาษลิง มีเปลือกหุ้ม เป็นไวรัสที่ไม่แข็งแรง โดนสบู่ล้างก็ตาย แต่เชื้อจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานหรือไม่ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ จริงๆ ไวรัสตัวนี้ไม่ได้ติดง่าย แต่ก็ไม่ยาก หากใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก็มีโอกาส แต่ถ้าล้างมือบ่อยๆ ป้องกันตัวเอง สวมหน้ากาก จะลดโอกาสการสัมผัสเชื้อ

อาการที่พบในผู้ป่วยฝีดาษวานร

นอกจากมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโตแล้ว มีรายงานการศึกษาใน วารสารทางการแพทย์ พบว่า ผู้ป่วยจะมีผื่นหรือแผลตามผิวหนองหรือเยื่อบุในอวัยวะต่างๆ ผื่น ตุ่ม หรือแผลนั้นเกิดที่อวัยวะเพศ 56.3%, บริเวณทวารหนัก 41.6% ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (86%) จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือปวดกล้ามเนื้อ โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนมีผื่น หรือหลังผื่นขึ้นก็ได้ มีผู้ป่วยบางส่วน ที่มีผื่น โดยไม่มีอาการร่วมอื่นๆ เลย

อาการผิดปกติอื่นที่พบ คือ ปวดทวารหนัก เจ็บคอ แผลในช่องปาก และองคชาติบวม มีผู้ป่วยถึงหนึ่งในสามที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย อาการหายได้เองภายในระยะ 2-4 สัปดาห์

การรักษาเน้นการรักษาแบบประคับประคอง

เป็นการรักษาตามอาการ เช่น มีไข้ ให้ยาลดไข้ ส่วนยารักษาเฉพาะ ยังไม่มียารักษาเฉพาะ มียาที่ใช้รักษาผู้ป่วยไข้ทรพิษ ในต่างประเทศนำมาศึกษาวิจัยในการดูแลผู้ป่วยฝีดาษวานรที่มีอาการรุนแรง

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/176857/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท