Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ภาวะตาปิดเกร็ง หนังตากระตุก


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

06-08-2022 16:29

Blepharospasm หรือ ภาวะตาปืดเกร็ง เป็นส่วนหนึ่งของอาการ focal dystonia ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อดวงตา มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และช่วงอายุที่พบบ่อยคือ ช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี มักเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ตา

ภาพประกอบเคส

Blepharospasm หรือ ภาวะตาปืดเกร็ง เป็นส่วนหนึ่งของอาการ focal dystonia ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อดวงตา มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และช่วงอายุที่พบบ่อยคือ ช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี มักเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ตา

อาการเริ่มต้นของภาวะนี้ คือ

  1. กระพริบตาบ่อยครั้ง ผู้ป่วยมักให้ประวัติว่ารู้สึกเคืองตาแสบตา
  2. เกร็งหรือรู้สึกดึงรั้งรอบดวงตา หรือแน่นรอบดวงตา โดยเกิดขึ้นทั้งด้านบนและด้านล่าง
  3. มีความลำบากในการลืมตา ตาเริ่มหรี่แคบลงจนถึงตาเปิดไม่ได้ชั่วขณะ อาการจะเป็นๆ หายๆ โดยระยะเวลาที่เกิดเป็นวินาทีถึงหลายนาทีได้ การโดนแสงแดดหรือไฟสว่างจ้า ความเครียดวิตกกังวล มักกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น

อาการภาวะอื่นที่อาจคล้าย Blepharospasm เช่น หนังตาตกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการที่ไม่สามารถเปิดตาได้จากสมองส่วนกลาง หรือใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นต้น

นอกจากนี้ Blepharospasm อาจเป็นส่วนหนึ่งของอาการเกร็งของใบหน้าคือ พบร่วมกับอาการเกร็งบริเวณปาก หรือในบางรายอาการเกร็งอาจลามถึงบริเวณคอหรือทั้งร่างกาย

ผู้ป่วยอาจมี sensory trick หรือการบรรเทาอาการจากการสัมผัสเบาๆที่บริเวณอื่น เช่น หางตาหรือแก้มแล้วทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาคลายตัว พบได้ในระยะแรกของโรค จากนั้นอาการจะค่อยๆหายไป ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ประเมินหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

การรักษา

  1. รักษาด้วยการรับประทานยา ในปัจจุบันการรักษาเน้นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่และไม่มีผลข้างเคียง
  2. การฉีดยาโบทูลินัม เป็นการรักษาที่ใช้ในผู้ป่วยเพื่อลดอาการเกร็งรอบดวงตา ได้นาน 3-6 เดือนต่อการฉีด 1 ครั้ง ซึ่งมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยและหายได้เองเมื่อยาหมดฤทธิ์ อย่างไรก็ตามการฉีดโบทูลินัมไม่ได้ทำให้หายขาดจากโรคเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง หลีกเลี่ยงการขับรถหากยังคุมอาการได้ไม่ดีพอ และเฝ้าระวังอาการทางระบบประสาทอื่นๆด้วย

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/176636/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท