Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ตั้งครรภ์ ท้องแข็ง คืออะไร ต้องทำเช่นไร


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

06-08-2022 15:18

อาการท้องแข็งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก เกิดขึ้นได้เสมอในระหว่างตังครรภ์ ความสำคัญคือต้องแยกให้ได้ว่าเป็นเพียงการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง

ภาพประกอบเคส

อาการท้องแข็งหรือเจ็บครรภ์
อาการท้องแข็งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก เกิดขึ้นได้เสมอในระหว่างตังครรภ์ ความสำคัญคือต้องแยกให้ได้ว่าเป็นเพียงการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง

สาเหตุและลักษณะอาการท้องแข็ง มีดังต่อไปนี้

1. เจ็บครรภ์เตือน

สาเหตุ

  • ทารกดิ้นแรง, คุณแม่ทำงานหรือเดินมาก
  • มดลูกหดรัดตัวตามปกติระหว่างตั้งครรภ์ (Braxton Hick Contraction)

อาการ

  • อาการเจ็บเกิดขึ้นได้ไม่สม่ำเสมอ มักปวดแค่บริเวณท้องน้อย
  • ระยะห่างของอาการไม่ถี่ขึ้น อาจเป็นทุก 15-20 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเท่า ๆ เดิม ไม่แรงมากขึ้น
  • ไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น มูก หรือ มูกปนเลือดไหลจากช่องคลอด
  • อาการสามารถทุเลาหรือหายได้เองหลังนอนพัก หรือทานยาแก้ปวด
  • การเจ็บครรภ์เตือนจะไม่ทำให้ปากมดลูกเปิดขยาย ซึ่งสามารถตรวจได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

2. เจ็บครรภ์จริง

สาเหตุ

  • มดลูกหดรัดตัวเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด

อาการ

  • อาการเจ็บเกิดขึ้นสม่ำเสมอ อาจปวดหลังใกล้บั้นเอวร้าวมาบริเวณหน้าท้องได้
  • ระยะห่างของอาการถี่ขึ้น เช่น จากทุก 15 นาที เป็นทุก ๆ 5-10 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเพิ่มมากขึ้น เช่น จากเจ็บ 15-20 วินาที เป็น 45-50 วินาที
  • มีมูก หรือ มูกปนเลือดไหลออกจากช่องคลอด
  • อาการเจ็บครรภ์มักไม่หายไป แม้นอนพักหรือทานยาแก้ปวด
  • เมื่อแพทย์ตรวจภายในจะพบว่าปากมดลูกมีการเปิดขยายและคอมดลูกมีความบางลง
  • เมื่อมีอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์

การดูแลเมื่อมีอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์

  • นั่งหรือนอนพักนิ่ง ๆ ซักระยะ
  • สังเกตลักษณะอาการให้ดีว่าเป็นการเจ็บครรภ์แบบใด
  • หากอาการเจ็บไม่หายไปและมีแนวโน้มปวดถี่ขึ้นรุนแรงขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์
  • หากคุณแม่ไม่แน่ใจ หรือ มีอาการอื่น ๆ เช่น น้ำเดิน ทารกดิ้นน้อยลง แม้ไม่มีอาการท้องแข็งก็ควรไปพบแพทย์ทันทีเช่นกัน

คำแนะนำ ระวังการเกิดอุบัติเหตุ ลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น ทำงานหนัก, ยกของหนัก ทั้งนี้คุณแม่สามารถออกกำลังกายตามความเหมาะสมได้ ถ้าไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3vuqf7v


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท