อากาศเปลี่ยน เสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
29-07-2022 11:40
เนื่องจากช่วงฤดูฝนเป็นฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้น ประชาชนควรดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และโรคโควิด 19 ซึ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอหรือจาม หรือเชื้อติดมากับมือ
เนื่องจากช่วงฤดูฝนเป็นฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้น ประชาชนควรดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และโรคโควิด 19 ซึ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอหรือจาม หรือเชื้อติดมากับมือ
อาการของโรค มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก ปวดศีรษะ อ่อยเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ ไข้มักเป็นอยู่ 2 – 4 วัน และอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
การป้องกันการเจ็บป่วย โดยยึดหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่
- หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน
- หยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรม เมื่อพบว่ามีอาการป่วย
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลี และไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ และผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว ควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ด้วย เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน ประชาชนสามารถฉีดวัคซีนได้ทั้ง 2 ชนิดพร้อมกันได้เลย แต่ให้ฉีดที่แขนคนละข้าง ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
- ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งรวมผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ
- โรคอ้วน คือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หากสงสัยป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคและการเสียชีวิต ในผู้ป่วยทั่วไป หากมีอาการป่วยเกิน 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงเหนื่อยมาก ให้รีบพบแพทย์ทันที
ที่มา :
: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) https://bit.ly/3S175iU
: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข https://bit.ly/3SbhtoH