Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

พฤติกรรมการนั่งเสี่ยงโรคข้อ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

13-03-2022 20:05

โรคข้อกำลังคุกคามสุขภาพของประชาชน แต่ที่พบได้บ่อยคือ โรคข้อเสื่อม เข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคปวดหลังปวดคอ โรคลูปัส โรคนิ้วล็อก โรคไหล่ติด และโรคกระดูกสันหลังติดแข็ง โดยมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป อาการที่พบได้บ่อยคืออาการปวดจากข้อเสื่อม เข่าเสื่อม เข่าโก่ง เข่าเก หากไม่ได้รับการรักษากระดูกจะถูกทำลายจนถึงขั้นพิการได้

ภาพประกอบเคส

โรคข้อกำลังคุกคามสุขภาพของประชาชน แต่ที่พบได้บ่อยคือ โรคข้อเสื่อม เข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคปวดหลังปวดคอ โรคลูปัส โรคนิ้วล็อก โรคไหล่ติด และโรคกระดูกสันหลังติดแข็ง โดยมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป อาการที่พบได้บ่อยคืออาการปวดจากข้อเสื่อม เข่าเสื่อม เข่าโก่ง เข่าเก หากไม่ได้รับการรักษากระดูกจะถูกทำลายจนถึงขั้นพิการได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อ

  • เกิดมาจากกรรมพันธุ์
  • การเสื่อมตามวัย
  • ความอ้วนหรือน้ำหนักตัวมากเกินไปทำให้กระดูกบิดผิดรูปจนกล้ามเนื้อเกิดการดึงรั้ง
  • เกิดจากอิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกวิธี ได้แก่ การนั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบ และนั่งไขว่ห้างนานๆ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนภายในข้อกระดูกเสื่อมเร็ว
  • ผู้ที่นิยมใช้เอวกระเตงของ เช่น กระบุง ตะกร้า ถาดใหญ่ๆ หรือกระเดียดเด็กที่เอวเป็นเวลานาน จะทำให้น้ำหนักทิ้งลงที่ขาข้างเดียว ทำให้ข้อกระดูกขาข้างนั้นเสื่อมเร็ว และทำให้ขาโก่งผิดรูปคือเข่าชิด ขาแบะออก และโก่งเข้าเป็นรูปไข่ ยิ่งอายุมากยิ่งเดินลำบาก
  • เกิดอาการปวดข้อจากการที่กระดูกข้อเสียดสีกัน

วิธีการป้องกันโรคข้อที่ดีที่สุด คือ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ข้อต่อต่างๆ ของร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว ทำให้การยืดหยุ่นของข้อและกล้ามเนื้อแข็งแรงดีขึ้นช่วยคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อ ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสมได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นแอโรบิก

อย่างไรก็ดีควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายตัวเอง การไม่ออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อที่หุ้มอยู่บริเวณรอบๆข้ออ่อนแรง ข้อจะฝืด กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะยึดติด เมื่อขยับจะรู้สึกปวด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าข้อติด

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อแล้ว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ลดหรืองดอาหารที่ทำให้น้ำหนักขึ้นได้ง่าย เช่นอาหารที่มีรสหวานรสมัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ข้อได้รับความกระทบกระเทือน หรือเกิดการกระแทก เช่น ยกหรือแบกของหนักมากๆ หรือเล่นกีฬาที่มีการวิ่งกระโดด หมั่นบริหารข้อ รับประทานยาตามกำหนดและหากเกิดอาการผิดปกติจากการรับประทานยาต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.thaihealth.or.th/Content/3572-


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท