Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

23-07-2022 10:46

สมองทำงานโดยอาศัยพลังงานจากน้ำตาลกลูโคสและออกซิเจนที่อยู่ในกระแสเลือด ซึ่งสูบฉีดมาจากหัวใจผ่านทางหลอดเลือดสมอง เมื่อเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง เช่น เกิดการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดสมองจะมีผลให้สมองขาดออกซิเจน จึงเกิดภาวะสมองขาดเลือด และเนื้อสมองตายในที่สุด

ภาพประกอบเคส

สมองทำงานโดยอาศัยพลังงานจากน้ำตาลกลูโคสและออกซิเจนที่อยู่ในกระแสเลือด ซึ่งสูบฉีดมาจากหัวใจผ่านทางหลอดเลือดสมอง เมื่อเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง เช่น เกิดการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดสมองจะมีผลให้สมองขาดออกซิเจน จึงเกิดภาวะสมองขาดเลือด และเนื้อสมองตายในที่สุด

ในกรณีที่เกิดการแตกของหลอดเลือดสมอง เลือดที่ออกจะกดเบียดเนื้อสมองบริเวณโดยรอบส่งผลให้เกิดอาการทางระบบประสาทขึ้น

สมองแต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกัน เมื่อสมองส่วนหนึ่งเกิดการขาดเลือด หรือถูกกดเบียดร่างกายซึ่งถูกควบคุมด้วยสมองก็จะเกิดความผิดปกติตามมา เช่น มีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก การมองเห็นผิดปกติ มีปัญหาในการใช้คำพูดติดต่อ สื่อสาร เป็นต้น

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

  1. หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน พบได้ประมาณ 70-85% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
  2. หลอดเลือดสมองแตก ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง หรือเยื่อหุ้มสมอง พบประมาณ 15-30% ของโรคหลอดเลือดสมอง

อาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน และควรพบแพทย์โดยด่วนเมื่อมีอาการต่อไปนี้

  • มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่นปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า
  • มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลับโดยมักเป็นครึ่งซีก
  • มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  • พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด
  • มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
  • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น

  • การรักษาในระยะเฉียบพลัน
  • การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วยการให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • การทำกายภาพบำบัด

ที่มา : ศูนย์หลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.si.mahidol.ac.th/center/sirirajstrokecenter/TH/StrokeContent/content/people/What-is-stroke.aspx


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท