โรคลืมใบหน้า
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
23-07-2022 10:43
ภาวะเสียการรับรู้หรือจดจำใบหน้าคนไม่ได้ เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการรับรู้หรือจดจำใบหน้าผู้คน อาจเกิดจากการเสียหายของสมองได้สองส่วน คือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ภาพใบหน้าผู้คนโดยตรง หรือสมองส่วนที่เป็นคลังความจำภาพใบหน้าที่เคยเห็นมาในอดีต เมื่อเกิดการบาดเจ็บใดๆ ในสมองซีกขวา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก การติดเชื้อ การอักเสบจากภาวะแพ้ภูมิตนเอง เนื้องอกสมอง อุบัติเหตุทางสมอง หรือแม้กระทั่งสมองเสื่อมบางชนิด ก็มีโอกาสทำให้เกิดภาวะนี้ได้
ภาวะเสียการรับรู้หรือจดจำใบหน้าคนไม่ได้ เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการรับรู้หรือจดจำใบหน้าผู้คน อาจเกิดจากการเสียหายของสมองได้สองส่วน คือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ภาพใบหน้าผู้คนโดยตรง หรือสมองส่วนที่เป็นคลังความจำภาพใบหน้าที่เคยเห็นมาในอดีต เมื่อเกิดการบาดเจ็บใดๆ ในสมองซีกขวา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก การติดเชื้อ การอักเสบจากภาวะแพ้ภูมิตนเอง เนื้องอกสมอง อุบัติเหตุทางสมอง หรือแม้กระทั่งสมองเสื่อมบางชนิด ก็มีโอกาสทำให้เกิดภาวะนี้ได้
ภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ ที่เป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการตั้งแต่เด็ก ทำให้จดจำใบหน้าคนได้ล่าช้าแต่พัฒนาการส่วนอื่นมักจะปกติ 2.ภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ที่เป็นภายหลัง ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของสมองที่มักเป็นซีกขวา เกิดในวัยผู้ใหญ่ อาการหลักคือ ผู้ป่วยจะจดจำใบหน้าคนไม่ได้ แม้เป็นคนที่ผู้ป่วยรู้จักมักคุ้นมาก่อน เช่น ญาติพี่น้องที่ใกล้ชิด โดยมักจะยังจำเกี่ยวกับตัวตนบุคคลนั้นได้โดยการเล่าจากลักษณะต่างๆ ให้ฟัง หรืออาจคาดเดาจากเสียง ท่าเดิน หรือลักษณะการแต่งตัวได้
การรักษา
หากสงสัยว่ามีคนใกล้ชิดมีภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ หรือมีความผิดปกติด้านการมองเห็นอื่นๆ ร่วมด้วย ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อประเมินอาการ ตรวจวัดระดับสายตา ลานสายตา ตรวจวัดการมองเห็น ทำแบบทดสอบสมรรถภาพสมอง และตรวจภาพถ่ายรังสีสมอง เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ และอาจพิจารณาส่งปรึกษาแพทย์ประสาทวิทยาเพื่อให้การประเมินเพิ่มเติม
การรักษาจะเน้นรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก เช่น การผ่าตัดเลือดออกในสมองหรือเนื้องอก การให้ยาต้านอักเสบหรือฆ่าเชื้อ ในกรณีเกิดจากสาเหตุแต่กำเนิดหรือสมองเสื่อม จะเน้นรักษาตามอาการโดยการฝึกจดจำใบหน้าโดยนักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น
ที่มา : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/176324/