ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack, TIA)
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
23-07-2022 10:38
ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรืออัมพฤกษ์ จะมีอาการและแสดงอาการเหมือนกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน แต่จะหายกลับเป็นปกติได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ ภายใน 30 นาที
ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรืออัมพฤกษ์ จะมีอาการและแสดงอาการเหมือนกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน แต่จะหายกลับเป็นปกติได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ ภายใน 30 นาที
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ เป็นสัญญาณเตือนถึงอันตราย จากการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตซ้ำสูงถึง 5% ภายใน 48 ชั่วโมง และ 10% ที่ระยะเวลา 3 เดือนหลังเกิดอาการ ดังนั้น แม้ว่าอาการต่างๆ จะหายไปแล้วก็ตามยังต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและป้องกันการเกิดซ้ำ
สาเหตุภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) มีดังนี้
- ปัจจัยจากโรค เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคเบาหวาน หรือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เป็นต้น
- ปัจจัยจากพฤติกรรม ทั้งการดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่รวมไปถึงการใช้สารเสพติด ทานอาหารที่มีไขมันมาก ไม่ออกกำลังกายทำให้เพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ได้
- ปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง
อาการภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)
อาการของภาวะนี้มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นจะสามารถหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้
- ปวดหรือเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
- ความจำเสื่อมชั่วขณะ ไม่ค่อยมีสติ
- พูดลำบากติด ๆ ขัด ๆ
- เกิดอัมพาตครึ่งซีกที่แขนขา และใบหน้า
- การมองเห็นมีปัญหา เช่น การมองเห็นภาพซ้อน
- กล้ามเนื้อเกิดอาการชา และอ่อนแรง
หากพบอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ถึงแม้ไม่นานจะหายไปได้เองก็ไม่ควรปล่อยไว้ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยเร็วเพื่อรับการวินิจฉัยรวมถึงหาแนวทางในการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มา : ศูนย์หลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.si.mahidol.ac.th/center/sirirajstrokecenter/TH/StrokeContent/content/people/What-is-stroke.aspx