Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

5 โรควิตกกังวล ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

23-07-2022 10:34

ใครกำลังรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ หรือ กลัวเกินเหตุ มาเช็คให้ชัวร์คุณอาจเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลได้ ต้องบอกว่าในชีวิตประจำวันเราทุกคนจะมีความกังวลอยู่แล้ว แต่ถ้ามีมากเกินไปจนเริ่มรู้สึกว่ารบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวลได้ ฉะนั้นแล้วลองสังเกตตัวเองดูจากอาการที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น เหงื่อตก ใจสั่น หรือ เป็นคนชอบย้ำคิดย้ำทำ เพราะหากคุณมีอาการเหล่านี้ ลองมาเช็กให้ชัวร์ว่าคุณกำลังเข่าข่ายเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลหรือเปล่า

ภาพประกอบเคส

ใครกำลังรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ หรือ กลัวเกินเหตุ มาเช็คให้ชัวร์คุณอาจเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลได้ ต้องบอกว่าในชีวิตประจำวันเราทุกคนจะมีความกังวลอยู่แล้ว แต่ถ้ามีมากเกินไปจนเริ่มรู้สึกว่ารบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวลได้ ฉะนั้นแล้วลองสังเกตตัวเองดูจากอาการที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น เหงื่อตก ใจสั่น หรือ เป็นคนชอบย้ำคิดย้ำทำ เพราะหากคุณมีอาการเหล่านี้ ลองมาเช็กให้ชัวร์ว่าคุณกำลังเข่าข่ายเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลหรือเปล่า

กลุ่มโรควิตกกังวลที่พบบ่อย

  1. กังวลทั่วไป หรือโรคคิดมาก (Generalized Anxiety Disorder : GAD) ลักษณะอาการคือ คิดมากไปแทบทุกเรื่อง แม้พยายามจะห้ามไม่ให้คิดก็ทำไม่ได้ และมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ อย่างน้อย 6 เดือน
  2. กลัว (Phobias) มีความกลัวอย่างมากต่อสิ่งๆหนึ่ง แม้ความกลัวนั้นจะไม่มีเหตุผล เช่น กลัวที่แคบ กลัวลิฟท์ กลัวการขึ้นเครื่องบิน เป็นต้น
  3. ตื่นตระหนก (Panic Disorder) มีอาการตื่นตระหนก ตกใจ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก มึนงง เหงื่อออก หายใจไม่อิ่ม และมีความกังวลว่าอาการเหล่านี้จะกลับมาอีก
  4. กลัวสังคม (Social Anxiety Disorder) หลายคนมีอาการกลัวอย่างมากในการเข้าสังคม พูดในที่ประชุม คุยกับกลุ่มคนแปลกหน้า จะเริ่มมีอาการเครียด วิตกทันที เมื่อมีกิจกรรมทางสังคม และจะพยายามหลีกเลี่ยง
  5. กลัวการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder) เป็นความวิตกกังวลที่เกินควรเกี่ยวกับการแยกจากบุคคลหรือสถานที่ ความวิตกกังวลเช่นนี้เป็นเรื่องปกติในพัฒนาการของทารกหรือเด็ก เมื่อความรู้สึกนี้เกิดเกินควรจึงจะจัดว่าเป็นโรค โรคเกิดนี้เกิดกับผู้ใหญ่ประมาณ 7% และเด็ก 4% แต่ว่ากรณีเด็กมักจะรุนแรงกว่า ยกตัวอย่างเช่น การจากกันอย่างสั้นๆ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกได้

อาจดูเหมือนโรคนี้น่ากลัว แต่คุณป้องกันได้ ง่ายๆ แค่ใช้ชีวิตอย่างมีสุข กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย นอกจากนี้ควรฝึกสติเพื่อรู้ทันอารมณ์ของตัวเองว่าความเครียดว่ามีมากเกินไปหรือไม่ รวมถึงการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบอยู่กับปัจจุบันและให้สมองได้ผ่อนคลาย รับรองสุขภาพดีทั้งกายใจห่างไกลโรคอย่างแน่นอน

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://bit.ly/3uU5W2Y


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท