Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ตับอักเสบจากการใช้ยา


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

23-07-2022 10:10

ตับ อวัยวะสีน้ำตาลแดงเหมือนคอนโดมิเนียมแปดหลังเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ยมมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หรือประมาณ 10 % ของน้ำหนักตัว แบ่งง่ายๆ คือ ตับซีกซ้าย ตับซีกขวา โดยตับซีกขวาครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 80% ของตับทั้งหมด ตับวางตัวอยู่ในช่องอกด้านขวาโดยมีกระดูกซี่โครงเป็นกำแพงปกป้องตับ ทำหน้าที่สร้างสารอาหาร (โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต) สร้างน้ำดี สร้างภูมิต้านทาน นอกเหนือจากนั้นตับยังมีหน้าที่ทำลายพิษทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ยา สารเคมี แอลกอฮอล์ ดังนั้นภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้ตับอักเสบก็ย่อมทำให้หน้าที่ดังกล่าวเบื้องต้นบกพร่องหรือทำไม่ได้

ภาพประกอบเคส

ตับ อวัยวะสีน้ำตาลแดงเหมือนคอนโดมิเนียมแปดหลังเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ยมมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หรือประมาณ 10 % ของน้ำหนักตัว แบ่งง่ายๆ คือ ตับซีกซ้าย ตับซีกขวา โดยตับซีกขวาครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 80% ของตับทั้งหมด ตับวางตัวอยู่ในช่องอกด้านขวาโดยมีกระดูกซี่โครงเป็นกำแพงปกป้องตับ ทำหน้าที่สร้างสารอาหาร (โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต) สร้างน้ำดี สร้างภูมิต้านทาน นอกเหนือจากนั้นตับยังมีหน้าที่ทำลายพิษทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ยา สารเคมี แอลกอฮอล์ ดังนั้นภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้ตับอักเสบก็ย่อมทำให้หน้าที่ดังกล่าวเบื้องต้นบกพร่องหรือทำไม่ได้

ตับอักเสบ หมายถึง โรคที่เกิดจากเซลล์ของตับมีอาการอักเสบหรือบาดเจ็บ หรือถูกทำลายจนส่งผลให้การทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ สำหรับในประเทศไทยที่พบบ่อย คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ การดื่มแอลกอฮอล์ ยา และสารพิษ อาหารเสริม สมุนไพร โดยยาในท้องตลาดไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด สามารถทำให้ตับอักเสบได้ และอาการตับวายเฉียบพลันมักเกิดจากยา โดยเฉพาะพาราเซตามอล

สาเหตุของตับอักเสบจากยาที่พบบ่อย

  • ยาปฏิชีวนะ ยารักษาวัณโรค ยาต้านเชื้อรา
  • ยาบรรเทาอาการ เช่น พาราเซตามอล
  • สมุนไพร อาหารเสริม และไวตามิน

ผลเสียที่เกิดจากตับอักเสบ

  • ตับอักเสบเฉียบพลัน
  • ตับวาย
  • ตับอักเสบเรื้อรัง
  • ตับแข็ง

การจัดการและการดูแลผู้ป่วยโรคตับจากยา

  • รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล หากมีภาวะตับวาย
  • รักษาแบบประคับประคอง
  • รักษาโดยการล้างท้องและให้ยาต้านพิษในกรณีได้รับยาเกินขนาด
  • หยุดยาที่สงสัยและสังเกตอาการภายหลังจากหยุดยา
  • หลีกเลี่ยงการให้ยาซ้ำแก่ผู้ป่วย
  • ติดตามระดับเอมไซม์ตับ กรณีได้รับยาที่เป็นพิษต่อตับสูง เช่น INH, statin, amiodarone ควรทําการติดตามทุก 3-6 เดือน

ที่มา : ยาวิพากษ์ ปีที่8 ฉบับที่ 30 มีนาคม-พฤษภาคม 2560 https://bit.ly/3Oaz3pn


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท