ดื่มน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
23-07-2022 09:55
น้ำ ส่วนประกอบหลักของร่างกาย ร่างกายคนเราหากขาดอาหารสามารถอยู่ได้นานถึงหนึ่งสัปดาห์แต่ถ้าขาดน้ำเพียงวันเดียวก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้และอย่างที่รู้กันว่าเราควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว ต่อวัน แต่จะดื่มอย่างไรให้ถูกวิธี
น้ำ ส่วนประกอบหลักของร่างกาย ร่างกายคนเราหากขาดอาหารสามารถอยู่ได้นานถึงหนึ่งสัปดาห์แต่ถ้าขาดน้ำเพียงวันเดียวก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้และอย่างที่รู้กันว่าเราควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว ต่อวัน แต่จะดื่มอย่างไรให้ถูกวิธี
ดื่มแค่ไหนถึงจะดี
ร่างกายของแต่ละคนต้องการน้ำในปริมาณที่แตกต่างกัน คำนวณได้โดยใช้สูตร น้ำหนัก x 2.2 x 30/2 = ปริมาณน้ำ(มล.)
เช่น น้ำหนักตัว 55 x 2.2 x 30/2 = 1,815 มล. คือปริมาณที่ควรดื่มต่อวัน ถ้าหากดื่มน้ำได้น้อยกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการก็จะส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายขับของเสียได้ยาก และเมื่อเลือดไหลเวียนไม่สะดวกก็ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือด เลือดข้น อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ
ดื่มน้ำตอนไหน
- หลังจากตื่นนอนในตอนเช้าประมาณ 2 แก้ว เพราะร่างกายขาดน้ำมาตลอดทั้งคืน จะได้ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือกทำงานได้เป็นปกติ
- ดื่มน้ำก่อนมื้ออาหารประมาณ 1 ชม.
- ค่อยๆ จิบทีละน้อยตลอด 5-10 นาที
น้ำเย็นหรือน้ำอุ่น
หลายคนชอบดื่มน้ำเย็นเพราะทำให้รู้สึกชื่นใจ แต่การดื่มน้ำเย็นทำให้ระบบภายในของร่างกายต้องทำงานเพิ่มขึ้น ในการปรับอุณหภูมิของน้ำให้เท่ากับอุณภูมิของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ง่ายกว่าผู้ที่ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำที่มีอุณหภูมิห้องเป็นประจำ
ดื่มน้ำอะไร
น้ำอัดลม น้ำผลไม้ น้ำเปล่า น้ำหวาน หลายๆ คนบอกว่าที่บอกมาทั้งหมดก็คือน้ำเหมือนกัน ดื่มแล้วช่วยดับกระหายได้ไม่ต่างกัน แต่ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำต้องเรียกว่าเป็นการสร้างภาระหนักให้กับไต ในการกรองเอาเฉพาะน้ำที่สะอาดเท่านั้น การดื่มน้ำผลไม้ก็ได้ประโยชน์จากวิตามิน แต่แนะนำว่าควรจะเป็นน้ำผลไม่คั้นสดที่ไม่เติมน้ำตาล เพราะน้ำตาลในปริมาณมากๆ ย่อมส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้ ทางที่ดีดื่มแค่น้ำเปล่าที่ผ่านการกรองอย่างสะอาดหรือผ่านการต้มสุกก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ถ้าอยากให้การดื่มน้ำเป็นเรื่องง่าย อาจจะลองใส่มะนาวฝานลงในน้ำเพื่อช่วยให้มีรสชาติ อีกทั้งมะนาวยังมีประโยชน์ในเรื่องของการดีท็อกซ์ล้างลำไส้อีกด้วย
ที่มา : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5730