Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคซึมเศร้าและปัญหาการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ

23-07-2022 09:30

ความเศร้า เป็นอารมณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับมนุษย์ แต่กระบวนการฟื้นฟูจากอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายคนเมื่อเศร้าแล้วกลับมาสู่สภาพเดิมได้ แต่หลายคนมีอาการซึมเศร้าหนักขึ้น และกลายเป็นโรคซึมเศร้าตามมา

ภาพประกอบเคส

ความเศร้า เป็นอารมณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับมนุษย์ แต่กระบวนการฟื้นฟูจากอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายคนเมื่อเศร้าแล้วกลับมาสู่สภาพเดิมได้ แต่หลายคนมีอาการซึมเศร้าหนักขึ้น และกลายเป็นโรคซึมเศร้าตามมา

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าและปัญหาการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น
มีงานวิจัยที่ชี้ว่าอาการซึมเศร้าจะถูกกระตุ้นจากอาการเสียศูนย์จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น
- การถูกประเมิน คะแนนสอบ
- ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความรัก ความสัมพันธ์ และความรู้สึกผิด

แต่ละคนมีวิธีรับมือต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่อยู่ภายในตัวว่าจะทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นร้ายแรงแค่ไหน เนื่องจากประสบการณ์ชีวิตต่างกัน มีรูปแบบความคิดต่างกัน มองโลกไม่เหมือนกัน และเป็นเหตุให้การแสดงออกของแต่ละบุคคลต่างกันไปด้วย บุคคลที่มีอาการซึมเศร้าอาจมีพฤติกรรมบางประการที่ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุน ดังนั้น ปัจจัยแวดล้อม เช่น ครู เพื่อน ครอบครัว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นที่พึ่งพิง

แนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าของวัยรุ่น
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าในนักศึกษาพบว่า นักศึกษาที่เรียนชั้นปีสูง ยิ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า และมีมากกว่าร้อยละ 6.4 ที่ฆ่าตัวตาย ชีวิตของนักศึกษากว่า 50 เปอร์เซ็นต์เกี่ยวข้องกับการเรียนหนังสือ ดังนั้น ครู อาจารย์จึงมีบทบาทสูงมากในความชอบหรือไม่ชอบในการเรียน ขณะเดียวกันคนที่นักศึกษาขอรับความช่วยเหลือเป็นคนแรก คือ เพื่อน

สาเหตุของการฆ่าตัวตาย
สาเหตุของการฆ่าตัวตายมาจากปัญหาการทะเลาะกับคนใกล้ชิด รวมถึงปัญหาจากการเรียนหนังสือ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การสอบได้คะแนนไม่ตรงตามความคาดหวัง เห็นคุณค่าตัวเองน้อย

การป้องกันการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น
ความรุนแรงของโรค มีตั้งแต่ในระดับที่น้อยไปจนถึงระดับที่มาก ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันโรคซึมเศร้าก็ยังถูกมองว่าเป็นโรคจิต ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ต้องการไปพบแพทย์ และไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า การป้องกันการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นมี 4 แนวทาง

  1. การสร้างทักษะชีวิต วัยรุ่นต้องมองโลกตามความเป็นจริง จัดการอารมณ์และสังคมได้อย่างเหมาะสม
  2. ไม่ผลิตข่าวซ้ำ
  3. จำกัดวิธี เช่น มีคนไปเฝ้าสถานที่สุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  4. มีระบบเฝ้าระวัง เป็นโจทย์ของโรงเรียนและสถานศึกษาในการหาวิธี

ที่มา : สภากาชาดไทย
https://www.redcross.or.th/news/infographics/17485/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท