คำแนะนำและวิธีการป้องกัน โรคที่มากับหนู
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
23-07-2022 09:24
จากกรณีโลกออนไลน์มีการแชร์คลิปฝูงหนูจำนวนนับร้อยตัวบุกแฟลตดินแดงนั้น อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้หนูชุกชุม เช่น มีเศษอาหารหรือกองขยะที่เป็นแหล่งอาหารมากมายสำหรับหนู ประกอบกับมีฝนตกต่อเนื่องเกิดน้ำท่วมขัง ทำให้หนูมีการย้ายที่อยู่ขึ้นมาข้างบนพื้นผิวถนนเพื่อหนีน้ำ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแจ้งเตือนประชาชนระวังภัยอันตรายและโรคที่มากับหนู
จากกรณีโลกออนไลน์มีการแชร์คลิปฝูงหนูจำนวนนับร้อยตัวบุกแฟลตดินแดงนั้น อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้หนูชุกชุม เช่น มีเศษอาหารหรือกองขยะที่เป็นแหล่งอาหารมากมายสำหรับหนู ประกอบกับมีฝนตกต่อเนื่องเกิดน้ำท่วมขัง ทำให้หนูมีการย้ายที่อยู่ขึ้นมาข้างบนพื้นผิวถนนเพื่อหนีน้ำ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแจ้งเตือนประชาชนระวังภัยอันตรายและโรคที่มากับหนู ได้แก่
- โรคฉี่หนู (จากตัวหนู)
- กาฬโรค (จากหมัดหนู)
- สครับไทฟัส (จากไรหนู)
- ฮันตาไวรัส
- โรคพิษสุนัขบ้า
- โรคไข้หนูกัด
- โรคพยาธิต่างๆ อีกมากมาย
การควบคุมประชากรหนูโดยยึดหลัก 3 กำจัด คือ
1) กำจัดหนูหรือดักหนูด้วยวิธีต่างๆ
2) กำจัดแหล่งอาหารของหนู ได้แก่ หมั่นทำความสะอาดบ้าน อาคาร และบริเวณโดยรอบไม่ให้มีเศษอาหารหรือขยะ ปิดฝาถังขยะให้มิดชิด กำจัดกองขยะเป็นประจำหรือนำไปทิ้งในบริเวณที่เตรียมไว้ ทำความเข้าใจกับประชาชนในการงดให้อาหารหนู หากมีความจำเป็นสามารถใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องควบคุมได้
3) กำจัดที่อยู่อาศัยของหนู เช่น ปิดรูซอกอาคาร หรือปิดฝาท่อ เป็นต้น
วิธีการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูและโรคที่มากับหนู
1) หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเดินเข้าใกล้หนู หากถูกหนูกัดให้รีบไปพบแพทย์
2) หลีกเลี่ยงการแช่น้ำหรือลุยน้ำเป็นเวลานาน หากจำเป็นให้สวมรองเท้าบู๊ทหรือถุงพลาสติกหุ้มเท้า เมื่อกลับถึงบ้านให้ทำความสะอาดร่างกายทันทีเพื่อลดการสัมผัสเชื้อ
3) กินอาหารสุกใหม่ เก็บอาหารให้มิดชิด หลีกเลี่ยงการกินอาหารค้างคืนโดยไม่มีภาชนะปิด
4) หากมีอาการสงสัยโรคฉี่หนูให้รีบไปพบแพทย์ทันที จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้ กรณีมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/176101/