Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ใส่ใจอาหาร...สู่พัฒนาการลูกน้อย


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

23-07-2022 09:05

นับตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์จนออกมาลืมตาดูโลก สิ่งที่หล่อเลี้ยงให้ลูกน้อยเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่ดีได้นั้น คงไม่พ้นเรื่องอาหารและโภชนาการ ซึ่งอาหารที่ว่าก็ขึ้นอยู่กับโภชนาการของคุณแม่ด้วย หลังจากที่คุณแม่ให้กำเนิดลูกน้อยแล้ว อาหารเริ่มแรกที่ควรให้ทารก ซึ่งเป็นอาหารที่สำคัญ ราคาถูก และยังให้โภชนาการครบถ้วนก็คือ “นมแม่” ควรให้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนเต็ม หรืออาจจะมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของตัวคุณแม่เอง

ภาพประกอบเคส

นับตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์จนออกมาลืมตาดูโลก สิ่งที่หล่อเลี้ยงให้ลูกน้อยเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่ดีได้นั้น คงไม่พ้นเรื่องอาหารและโภชนาการ ซึ่งอาหารที่ว่าก็ขึ้นอยู่กับโภชนาการของคุณแม่ด้วย หลังจากที่คุณแม่ให้กำเนิดลูกน้อยแล้ว อาหารเริ่มแรกที่ควรให้ทารก ซึ่งเป็นอาหารที่สำคัญ ราคาถูก และยังให้โภชนาการครบถ้วนก็คือ “นมแม่” ควรให้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนเต็ม หรืออาจจะมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของตัวคุณแม่เอง

หากลูกน้อยอายุได้ 6 เดือน เราควรเสริมอาหารอย่างอื่น แต่ถ้าหากทารกมีการเจริญเติบโตช้า หรือมีแนวโน้มลดลง อาจจะเริ่มเสริมตั้งแต่ 4 เดือนก็ได้ แต่ห้ามเสริมก่อน 4 เดือน เหตุที่ควรเสริมอาหารหลังจาก 6 เดือนเพราะหลังจากนั้นทารกจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารบางอย่างเพิ่ม เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินเอ ไอโอดีน แคลเซียม เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตได้ตามปกติ แต่การให้อาหารเสริมนั้นก็ต้องให้ควบคู่กับการให้นมแม่จนลูกน้อยอายุได้ 2 ปี

สารอาหารที่ทารกจำเป็นต้องได้รับในช่วงหลัง 6 เดือน
ช่วงหลัง 6 เดือน ทารกจะมีความสามารถในการย่อยอาหาร และมีพัฒนาการในการกลืน หรือการใช้ลิ้นตวัดอาหารลงสู่ลำคอได้ โดยอาหารที่ใช้เสริมนั้นควรเป็นอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว และยังต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับช่วงอายุของทารกด้วย ควรให้อาหารจําพวกโปรตีนในปริมาณน้อย เพราะช่วงนี้ไตของทารกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หรือเรียกว่ายังไม่สามารถขับของเสียได้เท่าผู้ใหญ่นั่นเอง นอกจากนี้ การเสริมควรจะเสริมทีละอย่าง เช่น กล้วยครูด ข้าวบดเปล่า ข้าวบดผัก ข้าวบดไข่แดง ข้าวบดปลา ข้าวบดไก่ ข้าวบดหมู เป็นต้น เพราะคุณแม่จะสามารถรู้ได้ว่าทารกแพ้อาหารชนิดไหนบ้าง

ลักษณะอาหารของทารกในช่วงหลัง 6 เดือน
ควรจะมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด หรือเป็นประเภทบด แต่ช่วง 8-9 เดือนไปแล้วก็สามารถเพิ่มความหยาบของอาหารได้มากขึ้นเป็นแบบสับหยาบ หลังจาก 1 ปีไปแล้ว จึงจะสามารถทานอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่แต่ก็ยังต้องเป็นอาหารนิ่มๆ เคี้ยวง่าย และเมื่อทารกอายุได้ 2 ปีจะสามารถทานอาหารเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ได้

ที่มา : นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue014/healthy-eating


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท