Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

คุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

23-07-2022 08:57

การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจมีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้ามีสารหรือยาบางชนิดไปกระทบกระเทือนต่อการแบ่งเซลล์ จะทำให้อวัยวะนั้นมีความผิดปกติหรือหยุดเจริญเติบโต ซึ่งจะผิดปกติมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และปริมาณสารที่ได้รับ การรับประทานยาก็เช่นเดียวกัน หากใช้ยาไม่เหมาะสมหรือไม่รู้ทัน ก็จะเกิดอันตรายแก่ลูกในครรภ์ได้ เรามีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากกัน

ภาพประกอบเคส

การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจมีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้ามีสารหรือยาบางชนิดไปกระทบกระเทือนต่อการแบ่งเซลล์ จะทำให้อวัยวะนั้นมีความผิดปกติหรือหยุดเจริญเติบโต ซึ่งจะผิดปกติมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และปริมาณสารที่ได้รับ การรับประทานยาก็เช่นเดียวกัน หากใช้ยาไม่เหมาะสมหรือไม่รู้ทัน ก็จะเกิดอันตรายแก่ลูกในครรภ์ได้ เรามีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากกัน

ยาที่คุณแม่ต้องระมัดระวัง

  1. ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ
  2. ยาเตตราชัยคลิน มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกในครรภ์ ยาซัลฟา อาจทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง
  3. ยาเพนนิซิลินและแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น
  4. ยาแก้อักเสบ มักจะเป็นยาที่หาซื้อมาทานเองบ่อยมาก และมักจะใช้ไม่ถูกวิธี จึงทำให้ดื้อยา ฉะนั้นไม่ควรใช้ยาเอง หากใช้ในหญิงทั้งที่ตั้งครรภ์หรือไม่ อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา มีอาการตกขาวและคันในช่องคลอดมากได้

  5. ยาแก้ปวดลดไข้

  6. ยาแอสไพริน หากทานเมื่อใกล้คลอด อาจไปยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดสำหรับทารกตั้งครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
  7. ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้หญิงตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมจากแพทย์
  8. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นไมเกรน ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดศีรษะกลุ่มเออโกตามีน เพราะทำให้มดลูกบีบตัว จนอาจแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

  9. ยาแก้คัน แก้แพ้

  10. ยาคลอเฟนิรามีน หากมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ

  11. ยานอนหลับและยากล่อมประสาท ควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง หากใช้ในปริมาณมาก ลูกที่เกิดมาอาจหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า และชักกระตุกได้

  12. ยารักษาเบาหวาน หากเป็นชนิดฉีดอินซูลินสามารถใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดรับประทานอาจจะทำให้น้ำตาในเลือดของทารกต่ำได้
  13. ยากันชัก อาจทำให้เกิดความพิการในทารกได้ โดยมีใบหน้าผิดปกติ
  14. ยาแก้ไอ ไม่แนะนำให้ใช้ยาชนิดที่ไม่มีไอโอดีน เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้
  15. ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้
  16. ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด

การใช้ยาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์โปรดระลึกไว้เสมอเลยว่าไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด ถ้าจำเป็นจริงๆ ให้ไปพบแพทย์ ย้ำว่า “ใช้ยาอย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยในครรภ์”

ที่มา : ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3RqpuW8


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท