Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การกลั่นแกล้ง 6 ประเภท ที่พ่อแม่ห้ามนิ่งนอนใจ


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

09-07-2022 10:14

เมื่อเกิดการรังแกไม่ว่าจะเป็น เด็กถูกรังแก หรือ เด็กรังแกเพื่อนในโรงเรียน เหตุการณ์เหล่านี้พ่อแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการแกล้งกันในโรงเรียนถือเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงที่ส่งกระทบต่อร่างกายและจิตใจในระยะยาว ซึ่งการกลั่นแกล้งที่พบได้บ่อยที่สุดในโรงเรียน และผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจ

ภาพประกอบเคส

เมื่อเกิดการรังแกไม่ว่าจะเป็น เด็กถูกรังแก หรือ เด็กรังแกเพื่อนในโรงเรียน เหตุการณ์เหล่านี้พ่อแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการแกล้งกันในโรงเรียนถือเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงที่ส่งกระทบต่อร่างกายและจิตใจในระยะยาว ซึ่งการกลั่นแกล้งที่พบได้บ่อยที่สุดในโรงเรียน และผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจแบ่งเป็น 6 ประเภท คือ

  1. การแกล้งทางร่างกาย เห็นได้ชัดเจนที่สุด เด็กจะใช้กำลังทางกาย เช่น เตะ ตี ต่อย ตบ ผลัก และการกระทำทางกายอื่น ๆ เพื่อให้ได้อำนาจและการควบคุมเหนือเป้าหมาย ผู้รังแกมักจะมีขนาดตัวใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า และก้าวร้าวกว่าผู้ตกเป็นเหยื่อ
  2. การกลั่นแกล้งโดยคำพูด เป็นการกลั่นแกล้งที่ผลกระทบร้ายแรงทำให้เกิดบาดแผลลึกในใจ เป็นการพูดต่อกันมาแบบปากต่อปาก โดยผู้ใหญ่รู้สึกว่าสิ่งที่เด็กพูดมักไม่ค่อยมีความสำคัญ จึงเกิดการละเลย
  3. การคุกคามในเชิงสัมพันธภาพ เป็นการกลั่นแกล้งที่ซ่อนเร้นและค่อยเป็นค่อยไป ผู้ปกครองและครูมักไม่ได้สังเกต และบางครั้งอาจเรียกว่าการกลั่นแกล้งทางอารมณ์ ผู้รังแกมักจะแบ่งแยกผู้อื่นออกจากกลุ่ม กระจายข่าวลือ ควบคุมสถานการณ์ และทำลายความมั่นใจ
  4. การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ เป็นประเด็นที่กำลังขยายวงกว้างมากขึ้น เช่น การโพสต์รูปที่ทำให้เกิดความเสียหาย การข่มขู่ทางออนไลน์ และการส่งอีเมล์หรือข้อความที่ทำให้เกิดความเสียหาย การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มักจะโหดร้าย สำหรับเหยื่อแล้วจะรู้สึกเหมือนถูกคุกคามไม่รู้จบสิ้น
  5. การกลั่นแกล้งทางเพศ ผู้ตกเป็นเหยื่อจะเกิดความอับอาย และความรำคาญ ตัวอย่างเช่น การเรียกชื่อโดยมีนัยทางเพศ การแสดงความเห็นอย่างหยาบคาย ท่าทางที่หยาบโลน การสัมผัสโดยที่ไม่ได้อนุญาต การยื่นข้อเสนอโดยมีนัยทางเพศ และสื่อลามก เด็กผู้หญิงมักตกเป็นเป้าหมายของการกลั่นแกล้งชนิดนี้มากกว่าเด็กผู้ชาย
  6. การกลั่นแกล้งโดยอคติ มักเกิดขึ้นกับเด็กก่อนวัยรุ่นและวัยรุ่นมีต่อผู้คนที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา หรือรสนิยมทางเพศ การกลั่นแกล้งประเภทนี้อาจร่วมกับการกลั่นแกล้งชนิดอื่นๆ รวมทั้งการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ทางคำพูด ความสัมพันธ์ ทางกาย และบางครั้งก็เป็นการกลั่นแกล้งทางเพศด้วย โดยเด็กจะพุ่งเป้าไปยังคนอื่นที่แตกต่างจากพวกเขาและแบ่งแยกคนเหล่านั้น

เด็กกลุ่มเสี่ยงถูกรังแกมากที่สุด คือ เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า เด็กพิการ และเด็กเพศทางเลือก ซึ่งมีรายงานถูกรังแกมากที่สุด ส่วนเด็กที่รังแกผู้อื่น พบว่าเป็นเด็กกลุ่มที่ครอบครัวมีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ป่วยโรคทางจิตเวช อาทิ สมาธิสั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข (พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรุงเทพมหานคร)

ที่มา : workpointTODAY ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต, สสส.
https://bit.ly/3u0VmXo


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท