Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อยู่ ร่วม สุข เข้าใจลูก LGBTQ+


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

09-07-2022 09:11

เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ หน้าที่ของพ่อแม่ไม่ใช่การหาสาเหตุหรือตั้งคำถามกับสิ่งที่ลูกเป็น หากแต่เป็นการเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้ในตัวตนของลูกและรู้ว่าสิ่งไหนที่ควรปฏิบัติต่อลูกหลานที่มีความหลากหลายทางเพศในครอบครัว เปลี่ยนจากการตั้งคำถามมาเป็นยอมรับ เข้าใจ ให้กำลังใจ และสนับสนุน เพราะเมื่อลูกได้รับสิ่งเหล่านี้จากพ่อแม่จะช่วยให้ลูกที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถอยู่-ร่วม-สุข ได้ในสังคม

ภาพประกอบเคส

เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ หน้าที่ของพ่อแม่ไม่ใช่การหาสาเหตุหรือตั้งคำถามกับสิ่งที่ลูกเป็น หากแต่เป็นการเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้ในตัวตนของลูกและรู้ว่าสิ่งไหนที่ควรปฏิบัติต่อลูกหลานที่มีความหลากหลายทางเพศในครอบครัว เปลี่ยนจากการตั้งคำถามมาเป็นยอมรับ เข้าใจ ให้กำลังใจ และสนับสนุน เพราะเมื่อลูกได้รับสิ่งเหล่านี้จากพ่อแม่จะช่วยให้ลูกที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถอยู่-ร่วม-สุข ได้ในสังคม

ความหลากหลายทางเพศไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปและเป็นความสวยงาม และควรได้รับการเคารพตัวตนในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ได้รับความสัมพันธ์ที่ดีจากครอบครัวและคนรอบข้าง ได้แสดงออกถึงตัวของตัวเองอย่างรู้สึกปลอดภัย รวมถึงการได้รับโอกาสเข้าถึงทรัพยากรด้านต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกับทุกคนในสังคม (นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สสส.))

วิธีสื่อสารให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่เข้าใจและยอมรับ

  1. เปิดพื้นที่ให้ลูกได้แสดงออกและเป็นตัวของตัวเอง คือ การให้เขาได้เล่น ได้ทำกิจกรรม ได้แสดงออกอย่างที่เขาเป็น โดยไม่ห้าม ไม่ตำหนิ หรือลงโทษ
  2. อยู่เคียงข้างลูก โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาถูกกลั่นแกล้ง ล้อเลียน หรือถูกเลือกปฏิบัติ เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกว่าต้องเจอปัญหาอย่างโดดเดี่ยว รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
  3. สนับสนุนสิ่งที่ลูกเป็นหรือแสดงออก ไม่ตำหนิและไม่ตั้งคำถามว่า “ทำไมถึงเป็นแบบนี้”

กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ควรได้รับสิทธิความเท่าเทียมในฐานะพลเมืองทั้งทางสังคมและด้านสาธารณสุข มีสุขภาวะทางสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ ปัญญา และการมีชีวิตอยู่ในสังคม โดยที่ไม่ถูกตีตราว่ามีความแตกต่าง เป็นการสร้างความมั่นคงภายในจิตใจผ่านการแสดงความรู้สึกว่าพวกเขาเป็นที่รัก และเป็นที่ต้องการของคนในครอบครัว

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ข้อมูลจาก หนังสืออยู่-ร่วม-สุข: เรื่องเล่าความสัมพันธ์ของคนใกล้ชิด LGBTI+ - 4P
https://bit.ly/3xQ3oDv


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท