Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

คำแนะนำเมื่อพบผู้ป่วยกำลังชัก


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

25-06-2022 10:04

อาการของโรคลมชัก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อเนื้อสมองสามารถทำให้เกิดอาการชักได้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิดหรือโดยพันธุกรรม อาทิ เนื้อสมองเจริญเติบโตผิดปกติ สารเคมีในสมองผิดปกติ พันธุกรรมผิดปกติ หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในภายหลัง เช่น ความผิดปกติต่อสมองระหว่างตั้งครรภ์ ความผิดปกติต่อสมองระหว่างคลอด อุบัติเหตุทางศีรษะ การติดเชื้อในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ภาพประกอบเคส

อาการของโรคลมชัก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อเนื้อสมองสามารถทำให้เกิดอาการชักได้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิดหรือโดยพันธุกรรม อาทิ เนื้อสมองเจริญเติบโตผิดปกติ สารเคมีในสมองผิดปกติ พันธุกรรมผิดปกติ หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในภายหลัง เช่น ความผิดปกติต่อสมองระหว่างตั้งครรภ์ ความผิดปกติต่อสมองระหว่างคลอด อุบัติเหตุทางศีรษะ การติดเชื้อในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมชัก มีหลากหลายและพบต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ดังนั้นเราจึงมีโอกาสที่จะได้พบเห็นผู้ป่วยหรือพบคนที่กำลังมีอาการชัก ได้ทั่วไปในสังคม

อาการของโรคลมชัก

ที่คนทั่วไปรู้จักดีที่สุด คือ อาการเกร็งกระตุกทั้งตัว ทั้งนี้อาการชักมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้นกับตำแหน่งของเนื้อสมองที่ผิดปกติ

  • บางคนอาจจะมีอาการเหม่อนิ่ง กระพริบตาถี่ๆ เป็นระยะเวลาสั้นๆ
  • บางคนมีอาการเคี้ยวปาก แลบลิ้น ทำปากขมุบขมิบ ขยำมือ ตาเหลือก คอบิด แขนหรือขาเกร็งหรือกระตุกซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  • อาจจะมีเสียงพูด แปลกๆ
  • มีอาการตัวอ่อนล้มลงไป
  • มีอาการใจสั่น มีอาการขนลุก

อาการทุกรูปแบบของลมชัก เกินกว่าร้อยละ 90 จะหยุดเองได้ในระยะเวลาไม่เกิน 5 นาที ซึ่งอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยขณะมีอาการชัก ไม่ใช่จากอาการของโรคลมชักเองโดยตรง แต่จะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะที่มีอาการมากกว่า เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่สามารถควบคุมร่างกาย หรือระมัดระวังตนเองได้ ทำให้อาจเกิดอุบัติเหตุ

ผู้เห็นเหตุการณ์สามารถช่วยเหลือดูแลให้คนไข้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยรวมถึง ไม่งัด ไม่ง้าง ขณะที่คนไข้ชัก จึงเป็นที่มาของการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการชักว่า “ไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด ไม่ทั้งหมด ชักหยุดเอง แค่ดูแลให้ชักอย่างปลอดภัย” หากเห็นว่าผู้ป่วยมีอาการชักนานเกินกว่า 5 นาที ได้รับบาดเจ็บจากอาการชัก เป็นการชักครั้งแรกในชีวิต หรือมีอาการชักซ้ำหลายรอบ สามารถโทรแจ้ง 1669 สายด่วนฉุกเฉิน เพื่อแจ้งเหตุและขอคำแนะนำหรือความช่วยเหลือได้

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=33993


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท