Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

มุมมองลูกเลี้ยงเดี่ยว มองไปข้างหน้าและทำให้ดีที่สุด


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

13-03-2022 17:39

ครอบครัวเป็นสถาบันหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสังคม และครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีครอบครัวแบบนี้มากขึ้น

ภาพประกอบเคส

ครอบครัวเป็นสถาบันหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสังคม และครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีครอบครัวแบบนี้มากขึ้น

สาเหตุที่ทำให้นำมาสู่การเป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว คือ

  1. การเสียชีวิตของคู่สมรส
  2. การหย่าร้างหรือแยกทางกัน
  3. มีลูกเมื่อยังไม่พร้อม

สิ่งที่ต้องเผชิญเมื่อชีวิตคู่ขาดหายไป คือการเปลี่ยนแปลงในวิธีการเลี้ยงดูลูก ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังมี 4 ระยะ

  1. ระยะแรก คือ ใครคนหนึ่งเสียชีวิต หรือเกิดปัญหาความไม่เข้าใจ ความไม่ลงรอย จนเกิดความรู้สึกว่าจะไม่อยู่ด้วยกันแล้ว
  2. ระยะที่ 2 คือระยะที่ตัดสินใจหย่าร้างกัน
  3. ระยะที่ 3 คือเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวมือใหม่ ซึ่งต้องเจอกับสารพัดปัญหา ทั้งเรื่องสภาพจิตใจ ค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับภาระคนเดียว ปัญหาที่ต้องเลี้ยงดูลูกอย่างถูกวิธี และถูกมองด้วยทัศนคติที่ผิดๆ จากสังคมว่าเป็นครอบครัวที่ขาดความสมบูรณ์ เด็กที่มาจากครอบครัวนี้เป็นเด็กที่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้ทำให้พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวเจอภาวะเครียด หลงทาง หาทางออกไม่เจอ ไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร และระยะสุดท้าย
  4. ระยะที่ 4 คือช่วงที่ผ่านพ้นวิกฤตปัญหามาได้ สามารถเลี้ยงลูกได้ตามลำพังเกิดเป็นครอบครัวใหม่ เป็นกระบวนการที่สามารถทำให้พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวฝ่าวิกฤตและเข้มแข็งมากขึ้นในการดูแลครอบครัว หัวใจสำคัญก็คือ ทำอย่างไรให้ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมีความเข้มแข็ง

อย่างไรก็ดีครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวไม่ได้แตกต่างจากครอบครัวทั่วไปเลย สามารถมีความสุขได้อย่างปกติ พัฒนาการของลูกในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวกับครอบครัวทั่วไปเหมือนกัน ลูกที่อยู่ในสภาวะครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีความรู้สึกและความต้องการคือ ให้สังคมมองอย่างเข้าใจ

ประสบการณ์และทัศนะต่างๆ ของ “ลูกเลี้ยงเดี่ยว” ทำให้รู้ว่าการมีทัศนคติในด้านบวกให้มากๆ สร้างแรงกระตุ้นในตัวเอง มีจิตสำนึกต่อครอบครัวจะทำให้ความสำเร็จในชีวิตนั้นอยู่ไม่ไกลเกินความพยายาม การที่พ่อแม่แยกทางกัน การมีครอบครัวไม่สมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี แต่ไม่สมควรทำให้เป็นไปในทางที่แย่ ควรที่จะทำตัวให้ดีขึ้นหรือเอามาเป็นแรงผลักดันตัวเองแทน สิ่งเดียวที่สำคัญที่สุดให้มองที่ครอบครัวเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เราเดินไปในทางที่ดี

ที่มา : สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
https://th.rajanukul.go.th/preview-3361.html


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท