Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ปัญหาสุขภาพจิตพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

13-03-2022 17:31

“ซิงเกิลแพเร้นท์” คือ การเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ชีวิตสมรสยุติลง ปัญหาสุขภาพจิตในพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวจะเกิด 3 ช่วง คือ ก่อนการหย่าร้าง ระหว่างดำเนินการหย่าร้างกัน และระยะปรับตัวหลังการหย่าร้าง ประเด็นหลักที่พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวกังวลใจ คือ การแยกทางกันจะส่งผลกระทบอะไรกับลูกหรือไม่ และจะต้องเลี้ยงดู หรือปฏิบัติตัวอย่างไรให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันลูกอาจมีปฏิกิริยาบางอย่างอันเป็นผลมาจากการแยกทางกันของพ่อแม่

ภาพประกอบเคส

“ซิงเกิลแพเร้นท์” คือ การเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ชีวิตสมรสยุติลง ปัญหาสุขภาพจิตในพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวจะเกิด 3 ช่วง คือ ก่อนการหย่าร้าง ระหว่างดำเนินการหย่าร้างกัน และระยะปรับตัวหลังการหย่าร้าง ประเด็นหลักที่พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวกังวลใจ คือ การแยกทางกันจะส่งผลกระทบอะไรกับลูกหรือไม่ และจะต้องเลี้ยงดู หรือปฏิบัติตัวอย่างไรให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันลูกอาจมีปฏิกิริยาบางอย่างอันเป็นผลมาจากการแยกทางกันของพ่อแม่

สิ่งที่ดีที่สุดและสำคัญที่สุดสำหรับคนที่เป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว คือ ความมั่นคงของเรา เพราะเด็กจะมั่นคงตามพ่อแม่ ถ้าพ่อหรือแม่มั่นคง ไม่รู้สึกแย่ ไม่ดูถูกตัวเอง ไม่ปล่อยให้ตัวเองซึมเศร้าหรือหมดหวังกับชีวิตที่ต้องแยกทางกัน ก็สามารถดูแลลูกตามลำพังได้ ดังนั้นอยากให้มีความมั่นคง ยอมรับสถานการณ์ชีวิตคู่ มองไปข้างหน้าระหว่างเรากับลูกว่าต้องวางแผนชีวิตอย่างไร ปรับตัวเองให้เป็นทั้งพ่อและแม่อย่างไร รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของพ่อและแม่ดูแลลูกร่วมกัน เด็กก็จะมีความสุขและเติบโตตามปกติ

ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ส่วนใหญ่ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ความรู้สึกหวาดกลัว ขาดความเชื่อมั่นกับอนาคตที่จะก้าวเดินต่อไป เช่น เงินที่ต้องนำมาเลี้ยงดูบุตร การบริหารจัดการเวลาในการดูแลบุตร ทำให้พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว เกิดความเครียด ซึมเศร้า เกิดสารพัดรูปแบบอารมณ์ด้านลบ รวมถึงบุตรที่เกิดมา ก็อาจจะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตในหลายด้าน เช่น อาจรู้สึกด้อยที่มีไม่เท่าเพื่อน ไม่ภาคภูมิใจในตัวเอง รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่เท่าที่ควร แต่เด็กเหล่านั้นสามารถผลักดันตัวเองจากจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้ ด้วยการให้ความรักที่เพียงพอและอยู่ในระบบการศึกษาที่ดีเขาจะมีโอกาสที่ดีในชีวิต การเป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจะไม่มีปัญหา

ที่มา : สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
https://th.rajanukul.go.th/preview-3408.html


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท