Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เมื่อไหร่ที่ “ควรพาเด็ก” มาปรึกษาจิตแพทย์เด็ก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

25-06-2022 08:48

หากผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าบุตรหลานของท่านเริ่มมีปัญหา รู้สึกไม่ชอบสังคม หรือ มีอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อยผิดปกติ อาการต่างๆ เหล่านี้ไม่ควรปล่อยปะละเลย อย่าคิดว่าเดี๋ยวก็หายเอง เพราะพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะส่งผลถึงอนาคตได้

ภาพประกอบเคส

หากผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าบุตรหลานของท่านเริ่มมีปัญหา รู้สึกไม่ชอบสังคม หรือ มีอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อยผิดปกติ อาการต่างๆ เหล่านี้ไม่ควรปล่อยปะละเลย อย่าคิดว่าเดี๋ยวก็หายเอง เพราะพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะส่งผลถึงอนาคตได้

พฤติกรรมต่างๆ ของเด็กและวัยรุ่น ที่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าควรมาพบจิตแพทย์ ดังนี้

เด็กเล็ก

  • ผลการเรียนตกลงอย่างชัดเจนถึงพยายามอย่างมากแต่ผลสอบไม่ได้เท่าที่พยายาม
  • ท่าทางวิตกกังวลอย่างมาก ซึ่งอาจแสดงออกโดยการไม่ยอมไปโรงเรียนบ่อยๆ หรือปฏิเสธไม่ยอมเข้าเรียน หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่เด็กวัยเดียวกันมักทำ
  • ซนมาก อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มากกว่าการเล่นทั่วๆ ไป
  • ฝันร้ายบ่อยๆ
  • ดื้อ ไม่เชื่อฟัง หรือก้าวร้าว ต่อต้านผู้ใหญ่ เป็นประจำ และนานกว่า 6 เดือน
  • มีร้องไห้ อาละวาดบ่อยๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้

เด็กโตและวัยรุ่น

  • ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
  • มีการใช้สารเสพติดหรือดื่มสุรา
  • ไม่สามารถแก้ปัญหาและปฏิบัติงานประจำได้
  • มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการนอน และ/หรือ การกินอย่างชัดเจน
  • บ่นเรื่องอาการเจ็บป่วยทางกายมากมาย
  • ก้าวร้าว หรือละเมิดกฎอย่างไม่ก้าวร้าว หรือละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ต่อต้านผู้ใหญ่ หนีโรงเรียน ทำลายข้าของสาธารณะ หรือลักขโมย
  • กลัวความอ้วนอย่างมาก ทั้งที่รูปร่างหรือน้ำหนักจริงไม่เป็นเช่นนั้น
  • มีอารมณ์ซึมเศร้า ซึ่งเห็นได้จาก มีอารมณ์ไม่แจ่มใสต่อเนื่อง มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หรือคิดเรื่องตายบ่อยๆ
  • อารมณ์โมโหรุนแรงอย่างควบคุมไม่ได้บ่อยๆ

ที่มา: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3HEwo5y


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท