“รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม” เชื้อไวรัสทำลายเส้นประสาท
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
19-06-2022 13:07
รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจาก Varizella Zoster Virus ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดอาการของโรคอีสุกอีใส ซึ่งคนที่เคยเป็นโรคนี้แล้วตัวไวรัสอาจจะยังอยู่ในร่างกาย โดยไม่ก่อให้เกิดโรคได้หลายปี แต่เมื่อก่อโรคก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรค
รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจาก Varizella Zoster Virus ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดอาการของโรคอีสุกอีใส ซึ่งคนที่เคยเป็นโรคนี้แล้วตัวไวรัสอาจจะยังอยู่ในร่างกาย โดยไม่ก่อให้เกิดโรคได้หลายปี แต่เมื่อก่อโรคก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรค
อาการของโรค
- เริ่มต้นจากอาการอักเสบทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะที่ ผู้ป่
- มีอาการปวด บวม แดง ร้อน ในตำแหน่งบริเวณใบหูของข้างที่เกิดอาการ
- อาจจะมีไข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วย
- มีตุ่มน้ำใส ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไวรัสขนิดนี้ บริเวณใบหู ทำให้รู้สึกแสบคัน หรือแสบร้อน
การอักเสบติดเชื้อดังกล่าวจะทำให้เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งทำหน้าที่ในการเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า หูชั้นใน และการรับรสบางส่วนเกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพาตของใบหน้าครึ่งซึก หลับตาไม่สนิท ทำให้มีอาการเคืองตา หรือล้างหน้าแล้วแสบตาเนื่องจากน้ำสบู่เข้าตา เป็นต้น การขยับกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตทำให้การพูด การออกเสียง การดื่มน้ำและรับประทานอาหารมีปัญหา อาการจะคล้ายกับอาการเส้นประสาทใบหน้าอักเสบชนิด Bell’s Palsy ซึ่งเป็นการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เช่นกัน แต่มักจะไม่พบสาเหตุชัดเจน และไม่มีอาการของผื่นหรือตุ่มน้ำใส
การรักษา
แพทย์วินิจฉัยจากการซักประวัติ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร่วมกับการรักษาตามอาการ และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งในกรณีที่มีการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า อาจจะใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูจนกลับมาใกล้เคียงกับปกติประมาณ 3 เดือน ขึ้นกับระดับความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้น และขึ้นกับความสามารถของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อในการฟื้นตัวด้วย
ทั้งนี้โรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 และทำให้เกิดอาการอัมพาตครึ่งซึกของใบหน้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้ไม่ได้มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงใด จึงไม่มีแนวทางหรือวิธีในการป้องกันการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันจึงมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพโดยรวม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และเมื่อพบว่ามีความผิดปกติ การเข้ารับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลของการรักษาและการฟื้นฟูนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
ที่มา : กรมการแพทย์
https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=33986