Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อาการทางตา ที่แนะนำให้พบจักษุแพทย์


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

19-06-2022 12:20

คนทั่วไปรู้จักการตรวจสุขภาพกายโดยการตรวจความดันโลหิต ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด และตรวจร่างกายทั่วไป แต่หลายคนคิดว่าตาไม่เป็นไรตราบที่การมองเห็นยังเป็นปกติ คงไม่ต้องตรวจก็ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะโรคตาบางโรคมาเงียบๆ ภาวะทางจักษุบางอย่างที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อการมองเห็นได้ เมื่อพบความผิดปกติควรมาพบจักษุแพทย์

ภาพประกอบเคส

คนทั่วไปรู้จักการตรวจสุขภาพกายโดยการตรวจความดันโลหิต ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด และตรวจร่างกายทั่วไป แต่หลายคนคิดว่าตาไม่เป็นไรตราบที่การมองเห็นยังเป็นปกติ คงไม่ต้องตรวจก็ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะโรคตาบางโรคมาเงียบๆ ภาวะทางจักษุบางอย่างที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อการมองเห็นได้ เมื่อพบความผิดปกติควรมาพบจักษุแพทย์ ได้แก่

  1. อุบัติเหตุทางตา ก่อให้เกิดอาการระคายตาเคืองตา ตามัว เลือดออก สารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา กระแทกตา หรืออุบัติเหตุที่ใบหน้า เปลือกตาที่อาจส่งผลต่อดวงตาเป็นต้น
  2. อาการปวดตามาก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อที่กระจกตา เยื่อบุตา เบ้าตา ถุงน้ำตา ม่านตาอักเสบ ต้อหินฉับพลัน
  3. เห็นจุดลอยใหม่หรือไฟแฟลชในตา อาจเป็นจากภาวะน้ำวุ้นลูกตาเสื่อมซึ่งมีการดึงรั้งจอประสาทตา อาจก่อให้เกิดจอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอก หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา
  4. อาการตาแดงที่เกิดการติดเชื้อที่กระจกตา เยื่อบุตาอักเสบ ม่านตาอักเสบ ต้อหินฉับพลัน แผลที่กระจกตาเป็นต้น
  5. การมองเห็นลดลงฉับพลัน ต้อหินฉับพลัน จอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตาหรือจุดรับภาพ เส้นเลือดที่จอประสาทตาอุดตัน เส้นประสาทตาอักเสบเป็นต้นนอก

โดยมีโรคทางตาที่ห้ามขาดยา จำเป็นจะต้องใช้อย่างต่อเนื่องและอยู่ในการดูแลของจักษุแพทย์ เช่น โรคต้อหินที่ต้องรับยาหยอดตาต่อเนื่อง หรือโรคจอประสาทตาที่ต้องฉีดยาเข้าน้ำวุ้นลูกตาต่อเนื่อง ควรตรวจติดตามการรักษา

อย่างไรก็ดี หากมีตาแดงที่สงสัยว่าเกิดจาก โควิด-19 (เช่น พบอาการตาแดงร่วมกับอาการทางทางเดินหายใจ ไข้ ผื่น) ให้ไปรักษาโควิด-19 ก่อนได้ เนื่องจากอาการทางตาพบได้น้อยกว่าอาการทางระบบทางเดินหายใจ และไม่รุนแรง หายเองได้ และเนื่องจากที่ระบุนั้นเป็นตัวอย่างของอาการทางตาด่วนที่พบได้บ่อย ทั้งนี้ให้ขึ้นกับวิจารณญาณของพยาบาลที่ทำการคัดกรองหรือแพทย์ที่รับปรึกษา ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้อื่นร่วมด้วย

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3Nkx7Lt


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท