Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ครอบครัวไทยหย่าร้าง สร้างผลกระทบต่อลูก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

13-03-2022 17:18

สถาบันครอบครัว ที่มีความสำคัญมาก เป็นหน่วยดูแลสมาชิกในครอบครัวทุกๆ ด้าน ให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งในปัจจุบัน เช่น ที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ปัจจัยพื้นฐาน การศึกษา สุขภาพ และทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดู กล่อมเกลา พัฒนาคนรุ่นถัดไป หากครอบครัวทำหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพก็จะได้คนรุ่นถัดไปที่มีคุณภาพ ซึ่งจากการติดตามวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เกี่ยวกับการจดทะเบียนเพื่อใช้ชีวิตคู่ตามกฎหมาย และการหย่าขาดสิ้นสุดการใช้ชีวิตคู่พบว่า อยู่ในเกณฑ์น่าห่วง สะท้อนถึงความเปราะบางของครอบครัวคนรุ่นใหม่

ภาพประกอบเคส

สถาบันครอบครัว ที่มีความสำคัญมาก เป็นหน่วยดูแลสมาชิกในครอบครัวทุกๆ ด้าน ให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งในปัจจุบัน เช่น ที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ปัจจัยพื้นฐาน การศึกษา สุขภาพ และทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดู กล่อมเกลา พัฒนาคนรุ่นถัดไป หากครอบครัวทำหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพก็จะได้คนรุ่นถัดไปที่มีคุณภาพ ซึ่งจากการติดตามวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เกี่ยวกับการจดทะเบียนเพื่อใช้ชีวิตคู่ตามกฎหมาย และการหย่าขาดสิ้นสุดการใช้ชีวิตคู่พบว่า อยู่ในเกณฑ์น่าห่วง สะท้อนถึงความเปราะบางของครอบครัวคนรุ่นใหม่

ปัจจัยพื้นฐานที่เป็นสาเหตุการหย่าร้าง

  1. มาจากผลกระทบความมั่นคงในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวใหม่ และครอบครัวเดี่ยว คือ มีพ่อ แม่ ลูก ได้รับแรงกดดันมาจากการใช้ชีวิตภายนอกครอบครัว ความตึงเครียดจากสภาพการทำงานมีมากขึ้น พอกลับมาสู่ครอบครัวต่างมีความตึงเครียดกลับเข้ามาด้วย จึงมีผลกระทบในเรื่องความขัดแย้งมากขึ้น หากแก้ไขความขัดแย้งไม่ได้ก็จะนำไปสู่ทะเลาะเบาะแว้ง และยุติการใช้ชีวิตครอบครัว
  2. มาจากปัจจัยเชิงค่านิยม ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาตนเองได้ มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตัวเอง อาจจะเริ่มรู้สึกว่าไม่ต้องพึ่งอีกคนก็ได้ ความอดทนจึงมีน้อยลง คิดว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งชีวิตคู่

ผลหลังจากหย่าร้างจะพบว่า มีการเลี้ยงดูลูกด้วยตนเองเพียงลำพัง หรือเรียกว่าครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้การยุติบทบาทสามีภรรยาเป็นการตัดสินใจของทั้งสองคนจะสิ้นสุดลง แต่ยังต้องคงบทบาทความเป็นพ่อแม่ของลูกคงเดิม เนื่องจากพื้นฐานลูกยังคงต้องมีพ่อและแม่เสมอและตลอดไป ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะยังคงอยู่หรือไม่ก็ตาม ในปัจจุบันเด็กจะเริ่มเข้าใจ การไม่อยู่ร่วมกันของพ่อแม่ แต่เด็กหวังว่าจะได้รับการดูแลจากทั้งพ่อและแม่ แต่รูปแบบอาจต่างไปจากเดิม เช่น ลูกอยู่กับใครเป็นหลัก คนนั้นก็ทำหน้าที่หลักในการดูแลชีวิตประจำวันของลูก แต่อีกคนก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ เช่น พบปะลูกโดยสม่ำเสมอ มีกิจกรรมร่วมกันในโอกาสสำคัญ ซึ่งฝ่ายดูแลลูกเป็นหลักต้องเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งสามารถทำอะไรให้กับลูก โดยความรับผิดชอบ ไม่ควรละทิ้งหน้าที่ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้รับความรักความอบอุ่น ไม่รู้สึกว่าถูกพ่อหรือแม่ทอดทิ้ง มีความมั่นคงจิตใจ

การป้องกันการหย่าร้าง มีข้อแนะนำคือ

  1. ต้องไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา เพราะจะสร้างความขัดแย้งมากขึ้น เรียกว่าให้เอาน้ำเย็นเข้าลูบ หรือใจเย็นๆไว้ก่อน และ
  2. ยอมรับและรับผิดชอบในด้านบทบาท และหน้าที่ซึ่งกันและกัน ทั้งภายในครอบครัวและนอกบ้านอย่างเหมาะสม สมดุล รู้จักจัดการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้อารมณ์เป็นหลัก

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
http://bit.ly/2qaTdWs


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท