Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การให้นมและดูแลความสะอาดช่องปากทารกภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

19-06-2022 08:16

ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งผู้ป่วยจะประสบกับปัญหาทางช่องปากหนึ่งในนั้น คือ ปัญหาการดูดกลืนอาหาร และเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากการสำลักนม ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องใส่ใจต่อการการป้อนนม ป้อนน้ำ ในระยะที่เด็กยังเล็ก เพื่อช่วยให้ลูกดูดนมได้ และได้รับนมในปริมาณที่เพียงพอ ลดความเสี่ยงจากการสำลักนม และช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของลูกน้อยที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ ให้สะอาดอยู่เสมอ

ภาพประกอบเคส

ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งผู้ป่วยจะประสบกับปัญหาทางช่องปากหนึ่งในนั้น คือ ปัญหาการดูดกลืนอาหาร และเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากการสำลักนม ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องใส่ใจต่อการการป้อนนม ป้อนน้ำ ในระยะที่เด็กยังเล็ก เพื่อช่วยให้ลูกดูดนมได้ และได้รับนมในปริมาณที่เพียงพอ ลดความเสี่ยงจากการสำลักนม และช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของลูกน้อยที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ ให้สะอาดอยู่เสมอ

ท่าทางการให้นมแก่ทารกที่มี ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่

  1. อุ้มให้ลำตัวของทารกตั้งขึ้นราว 45 องศาหรือจัดท่าทางให้อยู่ในท่านั่งหลังตรง 90 องศา
  2. ขณะดูดนมทารกจะดูดกลืนลมเข้าไปได้มากกว่าเด็กทั่วไปทำให้ท้องอืด ดังนั้นจึงควรอุ้มเรอบ่อยๆ
  3. หมั่นสังเกตอาการของทารกอย่างสม่ำเสมอระหว่างที่ป้อนนม หากมีอาการนมเอ่อล้นออกนอกช่องปาก ไม่ยอมกลืนนม สำลักนม หอบเหนื่อย หรือดูไม่สบายตัว ให้หยุดพักการป้อนนมสักครู่ และรอให้ทารกกลืนน้ำนมในปากลงไปจนหมดจึงค่อยป้อนนมต่อ

การดูแลความสะอาดช่องปากหลังให้นม

  1. ให้ใช้ผ้าอ้อมหรือผ้ากอซชุบน้ำต้มสะอาดที่เย็นแล้วเช็ดบริเวณจมูก ริมฝีปาก สันเหงือก และเพดานปาก เน้นย้ำบริเวณรอบๆ รอยแยกให้สะอาด
  2. หากริมฝีปากรอบๆ รอยแยกเริ่มแห้งแตก สามารถใช้วาสลีนทาบริเวณริมฝีปากเพื่อช่วยกักความชุ่มชื้นให้แก่ริมฝีปากได้

ที่มา : งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3GSJex0


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท