Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

แม่เลี้ยงเดี่ยวกับลูกวัยรุ่น


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

18-06-2022 16:18

ปัจจุบันแม่เลี้ยงเดี่ยวจำนวนมากสามารถเผชิญปัญหาและยืนหยัดการทำหน้าที่เป็นแม่และพ่อได้อย่างดี โดยไม่คิดว่าการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวจะเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงดูลูกให้มีคุณภาพ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีแม่เลี้ยงเดี่ยวอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยังสามารถผ่านช่วงเวลาของความยากลำบากทางจิตใจไปได้ ทำให้มีระดับความเครียดที่สูงขึ้น สูญเสียความมั่นใจในชีวิต ความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจนท้อแท้หมดหวังในชีวิต

ภาพประกอบเคส

ปัจจุบันแม่เลี้ยงเดี่ยวจำนวนมากสามารถเผชิญปัญหาและยืนหยัดการทำหน้าที่เป็นแม่และพ่อได้อย่างดี โดยไม่คิดว่าการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวจะเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงดูลูกให้มีคุณภาพ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีแม่เลี้ยงเดี่ยวอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยังสามารถผ่านช่วงเวลาของความยากลำบากทางจิตใจไปได้ ทำให้มีระดับความเครียดที่สูงขึ้น สูญเสียความมั่นใจในชีวิต ความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจนท้อแท้หมดหวังในชีวิต

ฉะนั้น สิ่งแรกที่แม่เลี้ยงเดี่ยวควรมีคือ การสร้างพลังใจให้ตัวเอง ต้องเข้มแข็งและตั้งหลักชีวิตให้เร็วที่สุด แม้จะดูเหมือนยากแต่เป็นด่านสำคัญที่สุด โดยสิ่งที่แม่เลี้ยงเดี่ยวควรทำเพื่อที่จะสามารถเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจให้กับลูก มีดังนี้

  1. สร้างความมั่นใจให้ลูก พฤติกรรมและอารมณ์ของแม่ส่งผลโดยตรงต่อลูก เพราะลูกสามารถซึมซับรับรู้ได้ว่าแม่รู้สึกอย่างไร ความเครียดของแม่อาจไปลงที่ตัวลูกได้ อย่าท้อแท้หรือหมดหวังต่อหน้าลูก เพราะจะทำให้ลูกสูญเสียความมั่นใจและมั่นคง

  2. พูดคุยกับลูกเป็นประจำ การพูดคุยกับลูกวัยรุ่นอาจทำให้คุณเหนื่อยบ้าง แต่ก็ต้องพยายามพูดคุยกับพวกเขาเป็นประจำ เพราะการสื่อสารจะทำให้เข้าใจลูกดีขึ้น จนนำไปสู่ความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน

  3. อย่าปิดบังลูก ลูกช่วงวัยรุ่นไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่ปิดบังสิ่งต่างๆ เพราะหากลูกรู้ความจริงจากคนอื่น ลูกจะเสียใจและรู้สึกว่าแม่ไม่ไว้วางใจเขา ควรอธิบายเหตุผลให้ลูกฟัง การร้องไห้ให้ลูกเห็นไม่ได้หมายความว่าแม่อ่อนแอ ตรงกันข้ามลูกจะได้เข้าใจด้วยว่าแม่เสียใจ แต่ก็พยายามที่จะยืนหยัดเผชิญปัญหา และเรียนรู้ด้านที่เข้มแข็งในบทบาทของแม่ด้วย

  4. อย่าใส่ความเกลียดชังให้ลูก ลูกจะมีภาพจำของพ่อในแบบของเขา อย่าพยายามใส่ความคิดความขัดแย้ง หรือการทะเลาะเบาะแว้งในฉันท์สามีภรรยาให้กับลูก ควรสอนให้ลูกได้เรียนรู้พฤติกรรมของความรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทของความเป็นพ่อแม่

  5. วางแผนกับอดีตคู่ชีวิต เรื่องลูกเป็นเรื่องของทั้งพ่อและแม่ที่มีส่วนให้กำเนิดชีวิตเขา จึงควรมีการวางแผนชีวิตลูกร่วมกัน การให้ฝ่ายพ่อรับผิดชอบร่วมกันเป็นเรื่องจำเป็น การคิดว่าลูกของฉัน ฉันสามารถเลี้ยงดูได้เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้ผู้ชายไร้ความรับผิดชอบมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

  6. ชวนทำกิจกรรมร่วมกัน พยายามหากิจกรรมทำร่วมกับลูกบ่อยๆ ถ้าเป็นลูกชาย อาจชวนญาติผู้ชายมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อให้ลูกได้ซึมซับบทบาทของความเป็นผู้ชาย หรือถ้าเป็นลูกสาวก็ควรให้เขาได้เรียนรู้บทบาทของผู้ชายด้วย และหากพ่อต้องการมารับลูกไปทำกิจกรรม ก็ไม่ควรกีดกัน แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสอยู่กับพ่อด้วย จะทำให้ลูกเข้าใจชีวิตมากขึ้น ที่สำคัญเข้าใจแม่ด้วย

การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่ได้แย่เสมอไป มีแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก และก็สามารถใช้ชีวิตกับลูกได้อย่างมีคุณภาพด้วย สิ่งสำคัญคือต้องฝ่าด่านพลังใจของตัวเองให้กลายเป็นพลังบวกให้ได้

ที่มา :
ศูนย์สื่อสาธารณะเพื่อเด็กและครอบครัว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) โดย ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์
https://bit.ly/3Nk38Du


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท