4 ห้าม – 4 ควร ดูแลลูก เมื่อพ่อแม่ต้องหย่าร้าง
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ
18-06-2022 16:15
การหย่าร้าง เป็นการสิ้นสุดอย่างหนึ่งของชีวิตสมรส เกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ในครอบครัวที่มีพ่อ แม่ ลูก การหย่าร้างเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตการเป็นผู้นำทั้งพ่อและแม่ในคนๆ เดียว (Single parent) หรือที่เรียกว่าพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือความเป็นครอบครัวของลูกต้องไม่สิ้นสุด ทั้ง 2 คน ยังคงต้องทำบทบาทพ่อและแม่ของลูกตลอดไป ไม่ว่าลูกจะอยู่กับฝ่ายใดก็ตาม เพื่อลดปัญหาและผลกระทบต่อจิตใจลูกที่อาจตามมาในภายหลังให้น้อยที่สุด
การหย่าร้าง เป็นการสิ้นสุดอย่างหนึ่งของชีวิตสมรส เกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ในครอบครัวที่มีพ่อ แม่ ลูก การหย่าร้างเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตการเป็นผู้นำทั้งพ่อและแม่ในคนๆ เดียว (Single parent) หรือที่เรียกว่าพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือความเป็นครอบครัวของลูกต้องไม่สิ้นสุด ทั้ง 2 คน ยังคงต้องทำบทบาทพ่อและแม่ของลูกตลอดไป ไม่ว่าลูกจะอยู่กับฝ่ายใดก็ตาม เพื่อลดปัญหาและผลกระทบต่อจิตใจลูกที่อาจตามมาในภายหลังให้น้อยที่สุด
ปฏิกิริยาสูญเสียที่ลูกอาจแสดงออกหลังจากการหย่าร้างของพ่อแม่ เช่น อาการว้าวุ่นใจ ก้าวร้าว หงุดหงิด ซึมเศร้า ผลการเรียนตกต่ำเป็นต้น สำหรับผู้ใกล้ชิดกับคู่หย่าร้างก็ต้องช่วยกันให้กำลังใจ ไม่ควรพูดแสดงความเสียใจ หรือแสดงความยินดี เพราะอาจเป็นการสะกิดแผลในใจได้
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำหลังหย่าร้างมี 4 ประการ ได้แก่
- ต้องให้ความมั่นใจกับเด็ก ว่าการที่พ่อแม่แยกทางกันไม่ได้มีสาเหตุมาจากลูกและยังคงรักลูกเหมือนเดิม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
- บอกความจริงแก่เด็ก เป้าหมายสำคัญคือการให้ความมั่นใจอนาคต จะทำให้การปรับตัวของเด็กในระยะยาวดีกว่าการปิดบังเด็กซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง
- พยายามรักษาสภาพความเป็นอยู่ให้ใกล้เคียงกับชีวิตเดิมของลูกที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรักความใส่ใจเหมือนเดิม
สิ่งที่พ่อหรือแม่ไม่ควรทำกับลูกเป็นอย่างยิ่งภายหลังหย่าร้าง มี 4 ประการคือ
- การด่าหรือเล่าความไม่เอาไหนของอีกฝ่ายหนึ่งให้ลูกฟัง ซึ่งมักจะเกิดจากพ่อหรือแม่มีความเจ็บปวด เป็นการสร้างความเกลียดชังขึ้นในใจของเด็กและทุกข์ทรมานใจไปตลอดชีวิต
- การดึงลูกให้เข้ามาเป็นพวกกับฝ่ายของตน เช่น บางคนกีดกัน แสดงความไม่พอใจเมื่อลูกไปคุยกับอีกฝ่าย บางคนพูดให้ลูกรู้สึกผิด เช่นถ้าลูกไปคุยกับพ่อ แปลว่าลูกไม่รักแม่ เป็นต้น
- การใช้ลูกเป็นสื่อกลาง ส่งสารระหว่างพ่อกับแม่ที่ไม่พูดกัน
- บังคับให้เด็กเลือกว่าจะอยู่กับใคร จะทำให้เด็กรู้สึกผิดอย่างมากกับฝ่ายที่เขาไม่ได้เลือก รู้สึกเสียใจ และกลัวพ่อแม่จะเลิกรักเขา หากต้องการรู้ว่าเด็กอยากอยู่กับใครมากกว่ากัน
เรื่องที่พ่อแม่ควรคำนึงไว้เสมอก็คือ ในส่วนลึกของใจเด็กยังรักยังโหยหาพ่อแม่ของเขาอยู่เสมอ เพราะลูกไม่มีคำว่าอดีตพ่อหรือแม่ ดังนั้นจึงไม่ควรห้ามลูกพูดถึงพ่อหรือแม่ที่เขาขาดไป ควรให้เด็กระบายความรู้สึก ควรเห็นใจและเข้าใจในความต้องการของเขา แล้วเขาจะพูดน้อยลงตามเวลาที่ผ่านไป
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขโดย แพทย์หญิงกรองกาญจน์ แก้วชัง รองผู้อำนายการด้านการแพทย์และประธานทีมนำทางคลินิก โรงพยาบาล(รพ.) จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา
https://bit.ly/3PZaeyR