Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไร เมื่อต้องการระบุเพศ แต่ไม่มีตัวเลือกที่ตรงกับเพศเรา


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

18-06-2022 15:37

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กล่าวถึงความ ‘อิสระทางเพศสภาพ’ ไว้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า หากเราต้องการระบุเพศ แต่เพศเราไม่มีในตัวเลือกเลย! จะทำอย่างไรดี

ภาพประกอบเคส

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กล่าวถึงความ ‘อิสระทางเพศสภาพ’ ไว้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า หากเราต้องการระบุเพศ แต่เพศเราไม่มีในตัวเลือกเลย! จะทำอย่างไรดี? โดยแสดงให้เห็นถึงตัวเลือกเพศในแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ ที่ถูกระบุไว้ว่า ( ) ชาย ( ) หญิง

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า แบบ หมายถึง กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน ส่วนคำว่า ฟอร์ม เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หมายถึง รูป รูปร่าง

ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนว่าจุดประสงค์ของการทำแบบฟอร์มนั้น คือ การขอข้อมูลทางกายภาพโดยเฉพาะการกรอกรายละเอียดเรื่องเพศ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดข้อมูลและไม่ให้ข้อมูลนั้นกระจัดกระจายกันเกินไป ในทางกลับกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม หากมีตัวเลือกเพียงแค่ชายและหญิง

เพศสภาพ (Gender) คือ “หญิง” หรือ “ชาย” เท่านั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรม

เพศวิถี (Sexuality) มีตั้งแต่กลุ่ม เกย์ กระเทย ทอม ดี้ เลสเบี้ยน อดัม เชอร์รี่ และไบเซ็กชวล โดยมักถูกเรียกรวมกันว่า “กลุ่มเพศทางเลือก”

ซึ่งหากจะใช้คำว่าเพศทางเลือกก็คงไม่ถูกต้องเสียทีเดียวในเมื่อเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่ใช่ว่าจะไม่มีคนที่เกิดมาแล้วไม่ใช่ทั้งเพศชายหรือหญิง อย่างแวนจา (Vanja) เขาเป็นชาวเยอรมันที่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลในเยอรมันว่าไม่ควรบังคับให้เขาต้องเลือกว่าเป็นเพศชายหรือหญิง เพราะเขาเป็นผู้ที่มีโครโมโซมเพศไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของเพศชายหรือหญิง ซึ่งท้ายที่สุดศาลสั่งให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายใหม่ที่มีหมวดตัวเลือกเพศใหม่สำหรับเอกสารทางราชการ โดยถ้าแปลเป็นภาษาไทยจะหมายถึง “อื่นๆ”

ในประเทศเรายังคงมีความคลุมเครือในเรื่องนี้อยู่ หรือท้ายที่สุดทางออกของแบบฟอร์มนี้ ควรมีตัวเลือกเพศสภาพ (Gender) คือ เพศชาย, เพศหญิง, อื่นๆ สำหรับคนที่ไม่ใช่ชายหญิง และเพิ่มเพศวิถี (Sexuality) ของคนในสังคมเราอย่างเท่าเทียมกัน

สิ่งมีชีวิตบนโลกมีความหลากหลาย มนุษย์ในสังคมมีความแตกต่าง แต่สิ่งที่ต้องไม่แตกต่างคือสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันที่ทุกคนควรได้รับ ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นชายหญิงหรือไม่ใช่ทั้งชายและหญิง

ที่มา : สาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องโดย : ชลธี มณีเลิศ, มุกธิดา ต้นคำ
https://bit.ly/3th59rQ


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท