สิวเชื้อรา สาเหตุ การรักษา
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
11-06-2022 10:27
สิวเชื้อรา เป็นการอักเสบของต่อมรูขุมขนโดยมีสาเหตุมาจากเชื้อราประเภทยีสต์ในกลุ่มมาลาสซีเซีย เกิดเป็นตุ่มสีแดงคล้ายสิว โดยอาจพบเดี่ยว ๆ หรือพบร่วมกับสิวทั่ว ๆ ไปที่
สิวเชื้อรา เป็นการอักเสบของต่อมรูขุมขนโดยมีสาเหตุมาจากเชื้อราประเภทยีสต์ในกลุ่มมาลาสซีเซีย เกิดเป็นตุ่มสีแดงคล้ายสิว โดยอาจพบเดี่ยว ๆ หรือพบร่วมกับสิวทั่ว ๆ ไปที่
สาเหตุของสิวเชื้อรา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes หรือ P. acnes
ลักษณะและอาการของสิวเชื้อรา ส่วนใหญ่มักเกิดที่ผิวหนังบริเวณหน้าอก แผ่นหลัง แต่สามารถพบได้ที่ไหล่ คอ และใบหน้า มีลักษณะเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ มีขนาดใกล้เคียงกัน (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) และอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเป็นตุ่มแดงและอาจมีตุ่มหนองร่วมด้วย แต่ไม่มีลักษณะของสิวอุดตัน ส่วนใหญ่จะมีอาการคันร่วมด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนชื้น หรือช่วงที่ต้องทำกิจกรรมมากขึ้น เช่น ออกกำลังกาย ซึ่งแตกต่างจากสิวทั่วไปที่ไม่ค่อยมีอาการคัน
ปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวเชื้อรา ได้แก่ อากาศร้อนชื้น ความอ้วน ผิวมัน ความเครียด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง พักผ่อนน้อย หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีรูขุมขนอุดตันจากการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน (ทั้งชนิดรับประทานและทา) โดยเฉพาะยากลุ่มเตตร้าซัยคลิน (tetracyclines) หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น รับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์ อาจส่งเสริมให้เกิดรูขุมขนอักเสบจากเชื้อราได้ง่ายเช่นกัน
ยาที่ใช้รักษาสิวเชื้อรา จะเป็นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีทั้งรูปแบบยาทาผิวหนัง และยารับประทาน โดยการรักษามักเริ่มด้วยยารับประทาน เช่น miconazole เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงกว่ายาทา สามารถแพร่กระจายไปยังรูขุมขนซึ่งอยู่ลึกลงไปในชั้นหนังแท้ได้ดี ขณะที่ยาทามักใช้เป็นยาเสริมร่วมกับยารับประทานหรือใช้หลังจากที่ผื่นหายแล้วเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น selenium sulfide
อาการข้างเคียงและข้อควรระวังของยาฆ่าเชื้อรา มีดังนี้
- ยาทา มักไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่อาจพบอาการระคายเคืองบริเวณที่ทายา
- fluconazole และ itraconazole อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
การใช้ยาแต่ละชนิดควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร เพราะหากใช้ยาไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
https://bit.ly/3a3II2K