การเก็บน้ำฝนไว้บริโภคหรืออุปโภคให้ปลอดภัย
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
11-06-2022 09:53
การเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค ในช่วงแรก ๆ ที่ฝนตก อาจเกิดความสกปรก และความเสี่ยงจากสารเคมีได้ง่าย อีกทั้งมลพิษทางอากาศ รวมทั้งความสะอาดหลังคาที่รองรับน้ำฝน และภาชนะเก็บกักน้ำฝน ซึ่งอาจทำให้น้ำฝนปนเปื้อนแบคทีเรีย ความขุ่น และความเป็นกรด – ด่าง ที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากการดูแลความสะอาดของพื้นหลังคา รางรองรับน้ำฝน ภาชนะบรรจุน้ำฝนไม่ถูกหลักการสุขาภิบาลน้ำบริโภค
การเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค ในช่วงแรก ๆ ที่ฝนตก อาจเกิดความสกปรก และความเสี่ยงจากสารเคมีได้ง่าย อีกทั้งมลพิษทางอากาศ รวมทั้งความสะอาดหลังคาที่รองรับน้ำฝน และภาชนะเก็บกักน้ำฝน ซึ่งอาจทำให้น้ำฝนปนเปื้อนแบคทีเรีย ความขุ่น และความเป็นกรด – ด่าง ที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากการดูแลความสะอาดของพื้นหลังคา รางรองรับน้ำฝน ภาชนะบรรจุน้ำฝนไม่ถูกหลักการสุขาภิบาลน้ำบริโภค
การเก็บน้ำฝนไว้บริโภคหรืออุปโภคให้ปลอดภัย เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้
- เริ่มสำรวจความพร้อมของรางรองรับน้ำฝน ต้องไม่ชำรุด ไม่มีเศษใบไม้ กิ่งไม้ ถ้าสามารถทำความสะอาดเก็บกวาดสิ่งสกปรกบนหลังคาได้ด้วยก็จะดีมาก
- ควรสำรวจภาชนะบรรจุน้ำฝน ต้องไม่ชำรุด แตกรั่ว และต้องล้างให้สะอาดทั้งภายนอก และภายใน และทำการฆ่าเชื้อโรคภายในด้วยการแช่ หรือฉีดพ่นน้ำคลอรีนในขั้นตอนสุดท้ายของการล้างด้วย
- ในการรองน้ำฝนนั้น ควรปล่อยให้ฝนตกชะล้างสิ่งสกปรกในอากาศบนหลังคา และรางรับน้ำฝนทิ้งไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยรองน้ำฝนใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
- เมื่อรองน้ำฝนเต็มแล้ว ควรปิดฝาภาชนะให้มิดชิดโดยใช้ตาข่ายพลาสติกปิดปากภาชนะให้แน่นก่อนปิดฝา เพื่อป้องกันสัตว์หรือแมลง เช่น จิ้งจก แมลงสาบเข้าไปอาศัย
- ดูแลที่ตั้งภาชนะเก็บน้ำฝนให้สะอาด ไม่เฉอะแฉะ ดูแลความสะอาดของภาชนะเก็บน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรนำสิ่งของต่าง ๆ ไปวางหรือกองไว้บนภาชนะเก็บน้ำฝน เพราะจะเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ แมลงนำโรค
สิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจก่อนนำน้ำฝนมาดื่ม ควรนำไปต้มให้เดือดประมาณ 1 นาที เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/174345/