วัคซีนทำงานยังไงในร่างกายเรา
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
11-06-2022 09:26
วัคซีน (vaccine) เป็นสารชีววัตถุ (biological preparation) ที่ผลิตขึ้นจากเชื้อจุลชีพ หรือสารชีวพิษของเชื้อจุลชีพ (toxin) ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อต้านการติดเชื้อเมื่อมีเชื้อจุลชีพเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกกระตุ้นเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ หรือหากเกิดความเจ็บป่วยขึ้น อาการของโรคก็จะรุนแรงน้อย เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันแล้ว
วัคซีน (vaccine) เป็นสารชีววัตถุ (biological preparation) ที่ผลิตขึ้นจากเชื้อจุลชีพ หรือสารชีวพิษของเชื้อจุลชีพ (toxin) ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อต้านการติดเชื้อเมื่อมีเชื้อจุลชีพเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกกระตุ้นเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ หรือหากเกิดความเจ็บป่วยขึ้น อาการของโรคก็จะรุนแรงน้อย เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันแล้ว
วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร
การสร้างภูมิคุ้มกันโดยวิธีการให้วัคซีน เป็นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเอง (active immunization) วิธีนี้จะใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงเดือน เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคได้อย่างเพียงพอ ชนิดของวัคซีนแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามวิธีการผลิตวัคซีน เช่น
- วัคซีนชนิดเชื้อตาย ใช้ตัวของเชื้อโรคที่ทำให้ตายแล้วมาเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนไวรัสตับอักเสบ-เอ วัคซีนพิษสุนัขบ้า
- วัคซีนชนิดเชื้อเป็น โดยนำเอาตัวของเชื้อโรคมาทำให้หมดกำลังหรืออ่อนแรงลงจนไม่สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ จากนั้นจึงนำมากระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนโรคหัด วัคซีนคางทูม วัคซีนหัดเยอรมัน และวัคซีนป้องกันวัณโรค
- วัคซีนที่ผลิตจากพิษของเชื้อโรค โดยนำพิษมาทำให้หมดฤทธิ์หรือหมดความรุนแรง เช่น วัคซีนบาดทะยัก วัคซีนคอตีบ เป็นต้น
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนถือเป็นการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความคุ้มค่า ผลประโยชน์ของการได้รับวัคซีนเกิดกับทั้งผู้ที่ได้รับวัคซีนและสังคมที่ได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันกลุ่ม (herd immunity)
ที่มา : Rama RDU ฉบับที่ 44 เดือนเมษายน 2565 เภสัชกรวิชญ์ภัทร ธรานนท์ งานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3sPid7C