Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การรมไอน้ำสมุนไพรแก้หวัด


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

11-06-2022 09:09

ยาสุม (รมไอน้ำ) เป็นการนำเอาสมุนไพรมาต้มแล้วสูดเอาไอ เป็นกระบวนการที่ใช้ไอน้ำในการนำพาตัวยาเข้าสู่ร่างกาย เป็นวิธีการบำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพตามหลักการของแพทย์แผนไทย โดยการใช้ไอน้ำจากสมุนไพรที่ต้มจนเดือด ซึ่งสมุนไพรที่ใช้เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรที่ใช้ตามอาการ เมื่อไอน้ำถูกสูดเข้าไปพร้อมลมหายใจ กลิ่น และคุณสมบัติของสมุนไพรจะช่วยเยียวยาระบบทางเดินหายใจ ลดอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล

ภาพประกอบเคส

ยาสุม (รมไอน้ำ) เป็นการนำเอาสมุนไพรมาต้มแล้วสูดเอาไอ เป็นกระบวนการที่ใช้ไอน้ำในการนำพาตัวยาเข้าสู่ร่างกาย เป็นวิธีการบำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพตามหลักการของแพทย์แผนไทย โดยการใช้ไอน้ำจากสมุนไพรที่ต้มจนเดือด ซึ่งสมุนไพรที่ใช้เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรที่ใช้ตามอาการ เมื่อไอน้ำถูกสูดเข้าไปพร้อมลมหายใจ กลิ่น และคุณสมบัติของสมุนไพรจะช่วยเยียวยาระบบทางเดินหายใจ ลดอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล

การรมไอน้ำสามารถใช้สมุนไพรได้ทั้งแบบสดและแบบแห้งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหา ถ้าเป็นสมุนไพรสดสรรพคุณจะดีกว่า เนื่องจากสมุนไพรแห้งต้องผ่านกระบวนการตากและอบ ส่งผลให้กลิ่น และสรรพคุณลดลงไปได้บ้าง การใช้สมุนไพรในการรมไอน้ำแก้หวัดไม่จำกัดปริมาณของสมุนไพรสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมเพียงแต่ต้องเป็นสมุนไพรในกลุ่มที่มีน้ำมันหอมระเหยและมีสรรพคุณบรรเทาอาการหวัดได้

ประโยชน์

  1. ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล
  2. กลิ่นหอมจากสมุนไพร ช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดได้
  3. เป็นการส่งเสริมสุขภาพ

อุปกรณ์

สมุนไพร (ขิง ข่า ตะไคร้ กะเพรา หอมแดง สะระแหน่ ผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือกของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า) กะละมัง ผ้าคลุมศีรษะ น้ำร้อน มีด เขียง

วิธีทำ

  1. ล้างสมุนไพรให้สะอาด
  2. ทุบหรือหั่นสมุนไพรชิ้นเล็กๆ พอประมาณใส่กะละมัง แล้วเติมน้ำร้อนจนท่วม
  3. ใช้ผ้าคลุมศีรษะพร้อมกะละมังให้ปิดสนิท สูดหายใจเอาไอระเหยของสมุนไพรเข้าไป หายใจเข้า-ออกช้าๆ ทำเมื่อมีอาการหวัด คัดจมูก ไอ จาม โดยรมไอน้ำครั้งละ 3-5 นาที วันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าอาการจะดีขึ้น

ข้อห้าม ข้อควรระวัง

  1. ไม่ควรรมไอน้ำ ในผู้ที่มีไข้ ตัวร้อน วิงเวียนศีรษะ เพราะอาจทำให้หน้ามืด เป็นลมได้
  2. ควรระมัดระวังในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  3. อาจโรยพิมเสนหรือการบูรเล็กน้อย (ปริมาณน้อย มากๆ) เพื่อแต่งกลิ่นให้หอมสดชื่น

ที่มา : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข https://bit.ly/3LAyAvA


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท