Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ดื่มฉี่ กินอึ เสมหะ ขี้ไคล ความเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

28-05-2022 16:17

จากกรณีข่าวการบุกเข้าตรวจสอบ สำนักฤๅษีประหลาด ที่เปิดรับรักษาโรคทุกชนิดโดยการให้ผู้ป่วยกินปัสสาวะ อุจจาระ เสมหะ และขี้ไคล รวมถึงยาที่ดองไว้นับ 100 โอ่ง เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ นั้น เมื่อพิจารณาการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

ภาพประกอบเคส

จากกรณีข่าวการบุกเข้าตรวจสอบ สำนักฤๅษีประหลาด ที่เปิดรับรักษาโรคทุกชนิดโดยการให้ผู้ป่วยกินปัสสาวะ อุจจาระ เสมหะ และขี้ไคล รวมถึงยาที่ดองไว้นับ 100 โอ่ง เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ นั้น เมื่อพิจารณาการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีการปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในหลายประเด็น ตั้งแต่

  • การจัดการสิ่งปฏิกูล ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ปัสสาวะ อุจจาระ และเสมหะ เข้าข่ายเป็นสิ่งปฏิกูลตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ตามมาตรา 4
  • การจัดการมูลฝอย ต้องมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 และข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย กรณีฝ่าฝืนกฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

สิ่งที่น่าห่วงที่สุด คือ สุขอนามัยของผู้เข้ารับการรักษาตามความเชื่อศรัทธา เนื่องจากการกินของเสีย อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลนั้นได้ เพราะปัสสาวะ เสมหะ อุจจาระ และขี้ไคล ตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น ในอุจจาระจะมีเชื้อโรค แบคทีเรีย พยาธิ เชื้อรา ส่วนปัสสาวะ แม้จะผ่านการกรองออกจากร่างกาย แต่ก็ไม่สมควรนำไปดื่มอยู่ดี ซึ่งเป็นทำนองเดียวกับเสมหะที่ขับออกมา เป็นกลไกการดักจับเชื้อโรคของร่างกาย รวมถึงขี้ไคล ก็เป็นชั้นของผิวหนังกำพร้าที่ลอกออกมาเมื่อหมดอายุ ซึ่งก็มีการหมักหมมของแบคทีเรียได้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ บรรดาลูกศิษย์ที่ปฏิบัติงานในสำนักฤาษีแห่งนี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกาย เพราะการปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งระบบระบายอากาศ กลิ่นเหม็นที่เกิดจากสิ่งปฏิกูลที่มีการหมักหมม เป็นระยะเวลาหลายปี ทำให้ต้องสูดดมหรือสัมผัสสิ่งสกปรกเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและระบบหายใจได้ ผู้ที่เข้ารับการรักษาตามความเชื่อศรัทธา และลูกศิษย์ ควรตรวจสุขภาพตนเองเพื่อหาแนวทางการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องต่อไป

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/173894/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท