Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

“PMS” เพราะฮอร์โมน...เปลี่ยนแปลงในรอบเดือน


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

28-05-2022 16:11

PMS (Premenstrual Syndrome) เป็นอาการไม่สุขสบายทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย สามารถพบได้ในผู้หญิงปกติทั่วไป ช่วงประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ได้

ภาพประกอบเคส

PMS (Premenstrual Syndrome) เป็นอาการไม่สุขสบายทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย สามารถพบได้ในผู้หญิงปกติทั่วไป ช่วงประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ได้

สาเหตุการเกิด PMS
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน)

ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ปัญหาจากความเครียด โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า การขาดสารอาหารพวกวิตามินและเกลือแร่ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำ

อาการของ PMS มีดังนี้

  1. อาการทางด้านอารมณ์
  2. ภาวะทางอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  3. ซึมเศร้าร้องไห้ง่าย
  4. ไม่มีสมาธิ
  5. เครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับ เพลีย เหนื่อยล้า
  6. หิวบ่อย หรือเบื่ออาหาร

  7. อาการทางด้านร่างกาย

  8. เจ็บเต้านม คัดตึงเต้านม มีสิวขึ้น
  9. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า และอ่อนเพลีย
  10. น้ำหนักตัวเพิ่ม ตัวบวม หิวบ่อย กินเยอะขึ้น
  11. ท้องผูก หรือท้องเสีย

ทั้งนี้การบันทึกเวลาที่มีประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และร่างกายได้ดีขึ้น หากอาการ PMS รุนแรงจนพัฒนาเป็น PMDD โดยจะมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่า คือ มีอารมณ์ก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หดหู่ใจ สิ้นหวัง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อยากฆ่าตัวตาย หรืออยากทำร้ายผู้อื่น ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างรีบด่วน

ที่มา :
(1) อ. พญ.วิลาสินี อารีรักษ์ ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา https://bit.ly/3LeiKGD
(2) หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/38s7okU


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท