Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำไมต้องรับ "วัคซีนเข็มกระตุ้น"


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: โควิด

28-05-2022 15:55

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เปิดถึงเหตุผลที่ต้องรับ "วัคซีนเข็มกระตุ้น" โดยระบุว่า ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อและจากวัคซีนสามารถเสื่อมไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราไม่ได้เจอเชื้อโรคเป็นเวลานาน ระยะเวลาที่ภูมิคุ้มกันเริ่มเสื่อมก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรค เช่น วัคซีนโรคหัดจะให้ภูมิคุ้มกันสูงสุดได้นานมาก หรือวัคซีนไข้เหลืองเข็มเดียว สามารถปกป้องเราได้ตลอดชีวิต

ภาพประกอบเคส

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เปิดถึงเหตุผลที่ต้องรับ "วัคซีนเข็มกระตุ้น" โดยระบุว่า ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อและจากวัคซีนสามารถเสื่อมไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราไม่ได้เจอเชื้อโรคเป็นเวลานาน ระยะเวลาที่ภูมิคุ้มกันเริ่มเสื่อมก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรค เช่น วัคซีนโรคหัดจะให้ภูมิคุ้มกันสูงสุดได้นานมาก หรือวัคซีนไข้เหลืองเข็มเดียว สามารถปกป้องเราได้ตลอดชีวิต

สาเหตุที่ต้องรับ "วัคซีนเข็มกระตุ้น"

  1. จากแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทำให้ยังมีข้อมูลไม่มากว่าระบบภูมิคุ้มกันของคนเราและวัคซีนจะรับมือกับเชื้อนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเรานำวัคซีนที่มีมาใช้ และเมื่อมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีโอมิครอน ข้อมูลที่เรามีระบุว่าวัคซีนต้านโควิด-19 สายพันธุ์ก่อนโอมิครอน จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน รวมถึงป้องกันการป่วยหนัก การเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิต
  2. เราต้องรับเข็มกระตุ้นเพราะว่าเชื้อไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้เร็ว หากการกลายพันธุ์ทำให้โปรตีนที่เปลือกหุ้มของไวรัสเปลี่ยนไป ภูมิคุ้มกันของเราอาจจะจดจำเชื้อโรคไม่ได้ เพราะอย่างนี้ เราถึงต้องฉีดไวรัสต้านไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะเป็นไวรัสที่กลายพันธุ์บ่อยมาก

ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโควิด-19 รับวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังจากที่รับเข็มพื้นฐานไปแล้วประมาณ 4-6 เดือน เนื่องจากวัคซีนจะเสื่อมประสิทธิภาพไปตามกาลเวลา และปกป้องเราจากการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยจากโอมิครอนได้น้อยลง โดยวัคซีนต้านโควิด-19 ยังคงปกป้องเราจากการป่วยรุนแรงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องรับวัคซีนเมื่อถึงคิว

ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31805


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท