วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นภาวะวิกฤตในแม่ระหว่างตั้งครรภ์
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
28-05-2022 14:50
ภาวะวิกฤตในแม่ระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุที่น้อยกว่า 18 ปี หรือ มากกว่า 35 ปี นอกจากนี้แม่ที่เป็นโรคประจำตัวอาทิ หัวใจ หอบหืด ลมชัก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ที่ต้องได้รับยารักษาจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ รวมทั้งแม่ที่เคยมีประวัติการแท้งลูก คลอดลูกก่อนกำหนดก็ต้องระมัดระวังในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์เป็นพิเศษ ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์อาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสู
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) แบ่งโรคฉุกเฉินเร่งด่วนออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ การบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุจราจร ภาวะวิกฤตในทารกแรกเกิด ภาวะวิกฤตในแม่ระหว่างตั้งครรภ์
ทั้งนี้ ภาวะวิกฤตในแม่ระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุที่น้อยกว่า 18 ปี หรือ มากกว่า 35 ปี นอกจากนี้แม่ที่เป็นโรคประจำตัวอาทิ หัวใจ หอบหืด ลมชัก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ที่ต้องได้รับยารักษาจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ รวมทั้งแม่ที่เคยมีประวัติการแท้งลูก คลอดลูกก่อนกำหนดก็ต้องระมัดระวังในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์เป็นพิเศษ ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์อาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง เช่น การติดเชื้อ
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่จะทำให้แม่มีความดันเลือดสูงมาก และจะทำให้อวัยวะหลายระบบล้มเหลว ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยเร่งด่วนจะทำให้มารดาและทารกเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่ภาวะครรภ์เป็นพิษจะพบในแม่ที่ตั้งท้องเป็นครั้งแรกมากกว่าแม่ที่ตั้งท้องเป็นครั้งที่สอง จะตรวจพบได้หากมีการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
การสังเกตอาการ
- ปวดศีรษะรุนแรงเนื่องจากภาวะความดันโลหิตที่ขึ้นสูง
- ตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือเห็นแสงวูบวาบร่วมด้วย
- จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน แม้ว่าจะเป็นอาการแพ้ท้องโดยทั่วไปก็ตาม
- มีอาการบวมตามใบหน้า มือ ข้อเท้า และเท้า
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไปอย่างรวดเร็ว
- ต้องระวังอุบัติเหตุอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ด้วย
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นภาวะวิกฤตในแม่ระหว่างตั้งครรภ์
- ผู้พบเห็นหรือประสบเหตุต่างๆ จะต้องรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
- หากผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ยังมีสติอยู่ ผู้เข้าให้การช่วยเหลือจะต้องให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายตั้งฉากกับพื้นเพื่อให้มดลูกตกไปทางซ้ายไม่กดทับหลอดเลือดดำใหญ่กลางท้อง เลือดจะได้ไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น
- หากพบว่าผู้ตั้งครรภ์มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ให้รีบทำการช่วยเหลือด้วยการฟื้นคืนชีพ (cpr) เช่นเดียวกับผู้ป่วยอื่นๆ
- จัดท่าผู้ตั้งครรภ์ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินให้นอนหงายและควรให้มดลูกกดทับหลอดเลือดใหญ่กลางท้องให้น้อยที่สุด โดยผู้ช่วยเหลือควรมี 2 คน โดยคนหนึ่งนั่งฝั่งขวามือของผู้ป่วย ใช้มือซ้ายดันมดลูกออกไปทางซ้ายมือของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ และใช้มืออีกข้างหนึ่งดึงรั้งสะโพกบริเวณปีกกระดูกเชิงกรานไว้เพื่อไม่ให้ตัวผู้ป่วยเคลื่อนไปด้วย ส่วนผู้ช่วยเหลืออีกคนหนึ่งจะต้องทำ cpr โดยกดในตำแหน่งที่สูงกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย โดยกดนวด 100 ครั้งต่อนาที หรือตามจังหวะเพลงสุขกันเถอะเรา จนกว่าทีมกู้ชีพจะเข้ามาช่วยเหลือ
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://bit.ly/3ahHotd