Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

Car Seat ที่นั่งนิรภัย ปลอดภัยสำหรับเด็ก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

28-05-2022 14:01

ประเทศไทยได้ประกาศ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่13) พ.ศ.2565 มาตราที่ 123 ระบุไว้ว่า ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตราย และผู้โดยสารที่สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดเข็มขัดไว้กับที่นั่ง ซึ่งจากระบบบูรณาการข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560-2564) พบว่ามีเด็กอายุแรกเกิด - 6 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1,155 ราย ในจำนวนนี้มี 221 ราย เป็นเด็กที่เสียชีวิตขณะโดยสารรถยนต์ (เฉลี่ยปีละ 44 ราย)

ภาพประกอบเคส

ประเทศไทยได้ประกาศ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่13) พ.ศ.2565 มาตราที่ 123 ระบุไว้ว่า ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตราย และผู้โดยสารที่สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดเข็มขัดไว้กับที่นั่ง ซึ่งจากระบบบูรณาการข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560-2564) พบว่ามีเด็กอายุแรกเกิด - 6 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1,155 ราย ในจำนวนนี้มี 221 ราย เป็นเด็กที่เสียชีวิตขณะโดยสารรถยนต์ (เฉลี่ยปีละ 44 ราย)

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก สนับสนุนการใช้ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก ซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 70 และได้กำหนดเป้าหมายให้มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารยานยนต์หรือใช้อุปกรณ์รัดตึงนิรภัยสำหรับเด็กที่ได้มาตรฐานให้ใกล้เคียงร้อยละ 100

การเลือกที่นั่งนิรภัยที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ได้แก่

1) ควรจัดให้มี ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก และใช้งานอย่างถูกวิธีตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์
2) เลือกรูปแบบคาร์ซีทและติดตั้งให้เหมาะสมตามช่วงอายุ สรีระ น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็ก ดังนี้ - เด็กแรกเกิด - 3 ปี ควรใช้คาร์ซีทสำหรับทารกที่เป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing car seat) ซึ่งจะปลอดภัยมากที่สุด - เด็กที่มีอายุ 2-6 ปี สามารถใช้คาร์ซีทที่เป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าได้ (Forward-facing car seat)
- เด็กที่เริ่มโต 4-12 ปี ควรใช้บูสเตอร์ซีท เป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าโดยใช้ร่วมกับเข็มขัดนิรภัยปกติ (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและส่วนสูง)
- เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ทุกตำแหน่งที่นั่งโดยสาร 3) มีมาตรฐานความปลอดภัย จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ กรณีเลือกใช้ที่นั่งนิรภัยมือสอง ควรสำรวจสภาพไม่มีรอยบุบหรือแตก สายรัดหรือเข็มขัดมีสภาพดีผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ควรเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุด และอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 6 ปี
4) อ่านคำแนะนำการใช้การติดตั้งอย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด 5) สำหรับรถเก๋ง ควรติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เบาะหลัง ไม่ควรติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เบาะด้านหน้าข้างคนขับ เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุเด็กอาจโดนกระแทกจากถุงลมนิรภัยได้

ที่มา : กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/173913/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท