Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

28-05-2022 13:31

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะ มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบบ่อยในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าแต่ละปีมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพศชายและเพศหญิงรายใหม่ประมาณ 1,900 และ 600 ราย ตามลำดับ

ภาพประกอบเคส

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะ มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบบ่อยในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าแต่ละปีมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพศชายและเพศหญิงรายใหม่ประมาณ 1,900 และ 600 ราย ตามลำดับ

สาเหตุการเกิดโรค ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่ามีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น การสูบบุหรี่ การสัมผัสสารเคมีจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแบบเรื้อรัง การระคายเคืองและการอักเสบเนื่องจากก้อนนิ่ว เป็นต้น

อาการทั่วไปของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการแต่เมื่อเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการดังนี้

  • ปัสสาวะปนเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
  • ปวดเบ่งขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่เรื้อรัง

อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

การรักษานั้นประกอบด้วยหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์มักใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี การรักษาหลัก คือ

  • การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะไปตัดเนื้องอกออก ใช้รักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น
  • การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านช่องท้องร่วมกับการให้ยา ใช้รักษากรณีที่มะเร็งลุกลามสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบริเวณใกล้เคียง
  • เคมีบำบัด และการใช้รังสีรักษา มักใช้รักษาหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดแล้ว หรือใช้ร่วมกันในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัดแต่เราสามารถป้องกันการเกิดโรคจากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวข้างต้น รวมถึงการหมั่นสังเกตร่างกายและพบแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติอาจทำให้พบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกส่งผลให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายจากโรคได้

ที่มา : กรมการแพทย์
https://bit.ly/3yRskMX


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท