Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

“อาการสั่น” ที่ไม่ใช่โรคพาร์กินสัน


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

28-05-2022 13:26

หนึ่งในอาการสั่นที่พบบ่อย คือ อาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ

ภาพประกอบเคส

หนึ่งในอาการสั่นที่พบบ่อย คือ อาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor)

  • เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • มือสั่นขณะใช้งาน เช่น หยิบจับสิ่งของ ตักอาหาร เขียนหนังสือ
  • พบอาการสั่นที่นิ้วมือ มือ แขน หรือขา เกิดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
  • เกิดอาการสั่นบริเวณอื่น ร่วมด้วยได้ เช่น ศีรษะ เสียง

สาเหตุอื่นๆ ของอาการสั่น

  • โรคทางกายบางชนิด เช่น ภาวะไข้หรือการติดเชื้อ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาต้านเศร้า ยาขยายหลอดลม

ทั้งนี้ การสั่นในพาร์กินสัน สามารถสังเกตได้ง่าย ถ้าเรามีหลัก สั่นข้างเดียวขณะอยู่เฉย กลับมาใหม่ตอนยกมือค้าง ร่วมกับสั่นเวลาเดิน ให้สงสัยโรคพาร์กินสันไว้ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยพาร์กินสันไม่จำเป็นต้องสั่นทุกราย โรคพาร์กินสันแบบแข็งและไม่สั่นก็มี การวินิจฉัยต้องทำโดยแพทย์ หากมีอาการสั่น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทเพื่อวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ที่มา : ผศ. พญพัทธมน ปัญญาแก้ว และ อ. พญ.ยุวดี ทองเชื่อม ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
https://bit.ly/3FQVnSC


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท