Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เกล็ดเลือดต่ำ ภาวะอันตรายที่ต้องรู้ทัน


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

15-05-2022 16:45

จุดเลือดสีแดงเล็ก ๆ กระจายทั่วแขนขา กดไม่จาง หรืออาจจะมีเลือดออกตามเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน ลักษณะอาการเหล่านี้บ่งบอกว่าคุณกำลังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่

ภาพประกอบเคส

จุดเลือดสีแดงเล็ก ๆ กระจายทั่วแขนขา กดไม่จาง หรืออาจจะมีเลือดออกตามเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน ลักษณะอาการเหล่านี้บ่งบอกว่าคุณกำลังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่

เกล็ดเลือด คือ เม็ดเลือดชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระแสเลือด ในร่างกายเรา ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดออก หรือในกรณีที่มีบาดแผลเกิดขึ้น จะทำหน้าที่ช่วยให้เลือดหยุดไหล

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คือ ภาวะที่เลือดมีจำนวนของเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 เซลล์/ไมโครลิตร แต่อย่างไรก็ตาม หากมีเกล็ดเลือดต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีอาการได้ ยกเว้นกรณีที่ต่ำมาก คือ มีระดับเกล็ดเลือดที่น้อยกว่า 30,000 เซลล์/ไมโครลิตร จะเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดเลือดออกได้เอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระแทกก่อนได้เลย ภาวะเกล็ดเลือดต่ำไม่นับว่าเป็นโรค แต่เป็นภาวะที่เกิดจากโรค

สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เกิดได้จาก 3 สาเหตุ ได้แก่

  1. ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดได้น้อยลง ซึ่งเป็นความผิดปกติของไขกระดูก
  2. การที่เกล็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ เช่น ภาวะที่ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อเกล็ดเลือด ทำให้เกล็ดเลือดโดนทำลายมากขึ้น โรคความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เนื้องอกหลอดเลือดบางชนิด โดยพบก้อนสีแดงช้ำร่วมด้วย
  3. เกิดจากกรณีที่คนไข้มีภาวะโรคตับ ทำให้มีม้ามโต เกล็ดเลือดส่วนหนึ่งจึงเข้าไปอยู่ในม้าม เมื่อเจาะเลือดจะพบว่ามีระดับเกล็ดเลือดต่ำลงได้

อาการ

มีเลือดออกง่ายและห้ามเลือดได้ยากกว่าปกติ มักพบตามเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดา รวมทั้งมีจุดจ้ำเลือดใต้ชั้นผิวหนังหรือรอยฟกช้ำตื้น ๆ แม้ไม่มีการกระแทก

หากเกล็ดเลือดต่ำควรทำอย่างไร

ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อยืนยันสาเหตุเกร็ดเลือดต่ำว่าเกิดจากอะไร เพื่อให้การรักษาตรงตามสาเหตุนั้น ๆ ต่อไป ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจะไม่อันตรายถึงชีวิต หากรู้เท่าทัน เข้ารับการรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่าง เคร่งครัด

ที่มา
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3KBA08h
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย https://bit.ly/3KB3gMy


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท