Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การป้องกันภัยจากฟ้าผ่า


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

15-05-2022 16:20

สภาพอากาศของประเทศไทย ช่วงนี้จะค่อนข้างแปรปรวน หลายพื้นที่มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้นประชาชนจึงต้องระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่าได้

ภาพประกอบเคส

สภาพอากาศของประเทศไทย ช่วงนี้จะค่อนข้างแปรปรวน หลายพื้นที่มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้นประชาชนจึงต้องระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่าได้

วิธีป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มีดังนี้

  • กรณีอยู่กลางแจ้ง ห้ามหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้ป้ายโฆษณา วัสดุคอนกรีต และเสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโลหะอย่างเด็ดขาด เพราะฟ้ามักผ่าลงที่สูงและบริเวณที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ควรนั่งหมอบ ย่อตัวให้ต่ำและชิดกับพื้นให้มากที่สุด ไม่ควรนอนราบกับพื้นอย่างเด็ดขาด

หลีกเลี่ยงการพกพาหรือสวมใส่วัสดุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น เครื่องประดับประเภทเงิน ทองคำ ทองแดง นาค สร้อยโลหะ กำไล และร่มที่มีส่วนยอดเป็นโลหะ ตลอดจนห้ามอยู่ใกล้หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น เครื่องมือการเกษตร โทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์สาธารณะ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนประกอบที่เป็นแผ่นโลหะ สายอากาศและแบตเตอรี่ที่เป็นตัวล่อไฟฟ้าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้

  • กรณีอยู่ในอาคาร ควรหลบในอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้าจะช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้ แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุหรืออยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะ

  • กรณีอยู่ในรถ ควรปิดกระจกทุกบาน หากฟ้าผ่าลงรถควรตั้งสติให้มั่น ไม่ควรออกจากรถโดยเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าที่ไหลตามผิวโลหะของตัวถังรถจะไหลลงสู่พื้นดิน หากวิ่งออกนอกรถจะมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้าผ่าสูง การหลบฟ้าผ่าในรถจึงเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุด

สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า คือ การหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า เช่น ที่โล่งแจ้ง บริเวณที่มีวัสดุที่เป็นตัวนำประจุไฟฟ้า รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ถูกฟ้าผ่าในช่วงฝนฟ้าคะนอง

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
https://bit.ly/3vuEd9J


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท